ผลของระยะปลูกต่อการเติบโตและผลผลิตของสวนป่าไม้ตีนเป็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของระยะปลูกต่อการเติบโตและผลผลิตของสวนป่าไม้ตีนเป็ด ได้ดำเนินการทดลอง 7 ระยะปลูก คือ 0.5x0.5, 0.75x0.75, 1x1, 1.5x1.5, 2x2, 4x4 และ 6x6 ม2. โดยเริ่มปลูกทดลอง ณ สถานีวิจัยวนเกษตรตราด จังหวัดตราด ในเดือนกันยายน 2539 และทำการเก็บข้อมูล 4 ครั้ง ในเดือนมีนาคมปี 2540 และเดือนกันยายนในปี 2541 2542 และ 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเติบโตและผลผลิตของหมู่ไม้ที่ปลูกด้วยระยะปลูกต่างกัน จากการศึกษาการเติบโตด้านความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับชิดดิน มวลชีวภาพและปริมาตรลำต้น พบว่า ในช่วงอายุ 1-2 ปี การเติบโตของไม้ตีนเป็ดไม่แตกต่างกันในแต่ละระยะปลูก ดังนั้นการปลูกไม้ตีนเป็ดเชิงเศรษฐกิจจึงควรใช้ระยะปลูกที่แคบ เช่น 0.5-1.5 เมตร จะให้ผลผลิตและจำนวนต้นที่มากกว่า สำหรับในช่วงอายุ 2-4 ปี พบว่า ที่ระยะปลูก 2-6 เมตร มีความโตมากกว่าระยะปลูกที่แคบกว่า ดังนั้นหากปลูกระยะแคบกว่า 2 เมตร ควรมีการตัดสางออกเพื่อส่งเสริมการเติบโตของต้นไม้ สำหรับการปลูกไม้เพื่อให้ได้ขนาดใหญ่ขึ้นในระยะยาว ควรใช้ระยะปลูกมากกว่า 4 เมตร สำหรับการจัดการในระบบวนเกษตร ระยะปลูกตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป นับว่ามีความเหมาะสมเนื่องจากสามารถปลูกพืชควบได้ระยะเวลามากกว่า 4 ปีขึ้นไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”