EFFECT OF THINNING ON GROWTH AND YIELD OF EUCALYPTUS CAMALDULENSIS DEHNH. PLANTATION
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องผลของการตัดสางขยายระยะต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส ดำเนินการในพื้นที่สถานีทดลองปลูกพรรณไม้ราชบุรี อ.เมือง จ.ราชบุรี ในระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 ในช่วงก่อนมีการตัดสางขยายระยะ (อายุ 7 ปี) จนถึงภายหลังที่มีการตัดสางขยายระยะไปแล้ว 2 และ 3 ปี (อายุ 9 และ 10 ปี) แปลงทดลองประกอบด้วยแปลงที่ไม่มีการติดสางขยายระยะและแปลงที่มีการตัดสางขยายระยะแบบตัดแถวเว้นแถวจำนวนอย่างละ 4 แปลง ระยะปลูก 2 x 2 เมตร ทำการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับชิดดิน (D0) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ความสูงจากพื้นดิน 30 ซม. (D30) และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอก (DBH) ของไม้ใหญ่ สำหรับหน่อที่เกิดจากตอที่เหลือภายหลังการตัดสางขยายระยะนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแปลงละ 10 กอตามชั้นขนาดความโตที่โคนตอเพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละแปลง วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับชิตดินและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอก คำนวณหาอัตราการเจริญเติบโตในรูปของความเพิ่มพูนรายปีทางด้านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ความสูง มวลชีวภาพต่อต้น ผลผลิตต่อพื้นที่และอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์ของไม้ใหญ่ หน่อที่เกิดขึ้นและไม้ใหญ่และหน่อรวมกัน ผลการศึกษาปรากฏว่าหลังจากตัดสางขยายระยะไปเป็นเวลา 3 ปี ความเพิ่มพูนรายปี และอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์ทางด้านความโตและความสูงของแปลงที่มีการตัดสางขยายระยะมีค่าสูงกว่าในแปลงที่ไม่มีการตัดสางขยายระยะ สำหรับมวลชีวภาพของไม้ใหญ่ที่เหลือภายหลังจากการตัดสางขยายระยะเป็นเวลา 3 ปี พบว่ามวลชีวภาพต่อต้นในส่วนที่เป็นลำต้นและส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินทั้งหมด มีค่าสูงกว่าแปลงที่ไม่มีการตัดสางขยายระยะ สำหรับผลผลิตของไม้ใหญ่พบว่าหลังจากตัดสางขยายระยะไปแล้ว 3 ปี ผลผลิตในทุกส่วนของต้นไม้ในแปลงที่ไม่มีการตัดสางขยายระยะมีค่าสูงกว่าในแปลงที่มีการตัดสางขยายระยะ สำหรับผลผลิตของไม้ใหญ่และหน่อรวมกัน พบว่าแปลงที่ไม่มีการตัดสางขยายระยะมีค่าสูงกว่าในแปลงที่มีการดัดสางขยายระยะ เมื่อพิจารณาอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์ของผลผลิตไม้ใหญ่และหน่อรวมกัน พบว่าแปลงที่มีการตัดสางขยายระยะมีค่าสูงกว่าแปลงที่ไม่มีการตัดสางขยายระยะ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าการตัดสางขยายระยะแบบแถวเว้นแถวในสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส เมื่ออายุ 7 ปี ที่มีระยะปลูก 2 x 2 เมตร มีผลทำให้ต้นไม้ที่เหลืออยู่มีผลผลิตที่เกิดภายหลังจากการตัดสางขยายระยะไปเป็นเวลา 3 ปี ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งที่มีจำนวนต้นต่อพื้นที่เหลืออยู่น้อยกว่าก็ตาม และผลของการตัดสางขยายระยะนั้นยังทำให้ต้นไม้ที่เหลืออยู่ในแปลงมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีกว่าต้นไม้ในแปลงที่ไม่ได้ทำการตัดสางขยายระยะ ซึ่งในอนาคตอาจจะส่งผลให้มีผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นจนมีผลผลิตเท่ากันกับสวนป่าที่ไม่มีการตัดสางขยายระยะได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”