บทบาทและพฤติกรรมของแมลงที่สำคัญบางชนิดในการช่วยผสมเกสรดอกสัก

Main Article Content

วัฒนชัย ตาเสน
สุวรรณ ตั้งมิตรเจริญ
เดชา วิวัฒน์วิทยา

บทคัดย่อ

การศึกษาบทบาทและพฤติกรรมของแมลงที่สำคัญบางชนิดในการช่วยผสมเกสรดอกสัก (Tectona grandis Linn.f. ) ที่สถานีผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าแม่กา จ.พะเยา ศึกษาชนิดและพฤติกรรมการหาอาหาร อัตราการลงตอมคอกจำนวนแมลงที่ลงตอมคอกในช่วงเวลาแต่ละวัน ประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายละอองเรณูไปยังยอดเกสรเพศเมียโดยดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2541 ถึงตุลาคม 2543 จากการศึกษาแมลงที่ช่วยผสมเกสรดอกสัก พบแมลงทั้งสิ้น 59 ชนิด ใน 23 วงศ์ (Family) และ 3 อันดับ (Order) คืออันดับ Lepidoptera พบจำนวน 28 ชนิด, อันดับ Hymenoptera จำนวน 22 ชนิด และอันดับ Diptera จำนวน 9 ชนิด ที่ลงตอมดอกสัก แมลงลงตอมคอกสักมีจำนวนชนิดและจำนวนตัวมากที่สุด ในช่วงเวลา 10.00-12.00 น. พบชันโรงคอลลินา (Trigona colina) ลงตอมตอกสักบ่อยครั้งมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 73.95 ฝั่งเจาะรูดิน (Nomia sp.) มีอัตราความเร็วของการตอมคอกเฉลี่ยสูงที่สุด 1.85 วินาที/ดอก สำหรับประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายละอองเรณูพบแมลงซึ่งเป็นกลุ่มผึ้งป่าคือ ชันโรงคอลลินา (Trigona collina), ชันโรงเทอร์มินาต้า (T. terminata), ชันโรงลาวิเซปส์ (T. laeviceps), ฝั่งเจาะรูดิน (Nomia sp.) และฝั่งเจาะหลอดไม้ (Ceratuna spp.) มีเคลื่อนย้ายละอองเรณูได้ดีเฉลี่ยร้อยละ 65.5 และพบว่าผึ้งเจาะรุดินสามารถเคลื่อนย้ายละอองเรณูไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมียได้จำนวนมากที่สุดถึง 6-7 เรณูในแต่ละครั้งที่ลงบนดอก

Downloads

Article Details

How to Cite
ตาเสน ว. ., ตั้งมิตรเจริญ ส., & วิวัฒน์วิทยา เ. (2022). บทบาทและพฤติกรรมของแมลงที่สำคัญบางชนิดในการช่วยผสมเกสรดอกสัก . วารสารวนศาสตร์ไทย, 21(1), 52–64. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/256009
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ