การประเมินค่าการสูญเสียดินด้วยเครื่องมือวัดการพังทลายของดินแนวดิ่ง : แนวทางการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน

Main Article Content

วีระภาส คุณรัตนสิริ

บทคัดย่อ

การประเมินค่าการสูญเสียดินด้วยเครื่องมือวัดการพังทลายของดินแนวดิ่ง (erosion bridge) เพื่อหาแนวทางการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนนี้ได้ทำการเก็บข้อมูลบริเวณลุ่มน้ำห้วยน้ำกัด สถานีวิจัยลุ่มน้ำขุนคอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้การสูญเสียคนในแต่ละประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ พื้นที่ไร่เลื่อนลอย ป่าสนธรรมชาติ สวนป่าสนสามใบ ไหล่ทาง และถนนป่าไม้ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าไร่เลื่อนลอยเป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผิวดินแนวดิ่งรายเดือนมากที่สุด 34,018 มิลลิเมตร รองลงมาคือพื้นที่ถนนป่าไม้ สวนป่าสนสามใบ ป่าสนธรรมชาติ และไหล่ทาง โดยมีค่า 21.134, 11.371, 4.741 และ 4.326 มิลลิเมตร ตามลำดับ สัดส่วนการเคลื่อนย้ายตะกอนพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยน้ำกัดมีค่า 0.263 ปริมาณตะกอนที่สูญเสียออกจากพื้นที่มีค่า 9.441 ตัน/ไร่/เดือน และปริมาณตะกอนวัดได้บริเวณเขื่อนวัดน้ำมีค่า 2481 ตัน/ไร่/เดือน ปริมาณการสูญเสียคนรายปี พบว่าไร่เลื่อนลอยเป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการสูญเสียดินมากที่สุด 58.674 ตัน/ไร่/ปี รองลงมาคือพื้นที่ถนนป่าไม้ สวนป่าสนสามใบ และป่าสนธรรมชาติ โดยมีการสูญเสียดิน 29.216, 15.992 และ 9.406 ตัน/ไร่/ปี ตามลำดับ การปลูกป่าเสริมในพื้นที่ว่างเปล่าและพื้นที่เสื่อมโทรมสามารถลดการสูญเสียดินลงได้และในไม่ช้าสามารถฟื้นตัวเป็นป่าธรรมชาติได้ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ป่าธรรมชาติมีการสูญเสียดินออกจากพื้นที่น้อยที่สุด การใช้ระบบวนเกษตรในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้มีการปลูกป่าร่วมกับพืชเกษตรควบคู่กันไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ