การใช้มดเป็นตัวบ่งชี้สังคมพืชบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การใช้มดเป็นตัวบ่งชี้สังคมพืชบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาชนิดมดที่เป็นตัวบ่งชี้ชนิดของสังคมพืชในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่โดยการวางแปลงสำรวจขนาด 30 x 30 ตารางเซนติเมตร สังคมพืชละ 100 แปลงใน 4 สังคมพืชคือ สังคมพืชป่าผสมผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ สังคมพืชป่าดิบชื้น สังคมพืชป่าดิบแล้ง และสังคมพืชป่าดิบเขา ทำการเก็บข้อมูลเดือนเว้นเดือน เป็นระยะเวลา 1 ปี มดที่มีถิ่นอาศัยเฉพาะในสังคมพืชป่าผสมผลัดใบ มีทั้งหมด 37 ชนิด โดยชนิดที่จัดเป็นตัวบ่งชี้ที่ดี คือ Paratrechina sp. 7. สำหรับสังคมพืชป่าดิบแล้ง มดที่มีถิ่นอาศัยเฉพาะทั้งหมด 18 ชนิด ชนิดที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของสังคมพืชป่าดิบแล้ง คือ Ponera sp.3 ในขณะที่สังคมป่าดิบชื้นมีมอที่มีถิ่นอาศัยเฉพาะทั้งหมด 24 ชนิดและชนิดที่เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของสังคมพืชป่าดิบชื้น คือ Acropyga acutiventris Roger, Technomyrmex sp.6, Tapinoma sp.1. Aenectus ceylonicus (Mayr) และ Pachycondyla (Brachvponera) nigrita (Emery) ส่วนสังคมพืชป่าดิบเขามีมดที่มีถิ่นอาศัยเฉพาะทั้งหมด 10 ชนิด โดยชนิดที่เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของสังคมพืชป่าดิบเขาคือ Cerapachys sp.2
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”