บทบาทของการปลูกสร้างสวนป่าต่อการเก็บกักคาร์บอน ที่สถานีวิจัยและฝึกอบรมการปลูกสร้างสวนป่า จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเก็บกักคาร์บอนในสวนป่า พื้นที่ปกคลุมด้วยเลา และพื้นที่ปกคลุมด้วยหญ้าคา ได้ดำเนินการที่สถานีวิจัยและฝึกอบรมการปลูกสร้างสวนป่า จังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาถึงความสามารถในการเก็บกักคาร์บอนของพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบต่างๆ กันโดยทำการเก็บตัวอย่างดินแปลงละ 3 หลุม แต่ละหลุมเก็บ 4 ระดับความลึก คือ 0-5, 5-10, 10-20 และ 20-30 เซนติเมตร ตามลำดับ เพื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ และเก็บตัวอย่างพืชเพื่อนำไปวิเคราะห์หาความเข้มข้นของคาร์บอน ผลการศึกษาพบว่าแปลงไม้กระถินเทพามีความสามารถในการเก็บกักคาร์บอนในดินจนถึงระดับความลึก 30 เซนติเมตร ได้มากที่สุดคือ 53.242 ตัน/เฮกแตร์ รองลงมาได้แก่ แปลงเลา แปลงหญ้าคา แปลงไม้แดง แปลงไม้พะยูง แปลงไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส แปลงไม้ประดู่ป่า และแปลงไม้กระถินณรงค์ ซึ่งมีค่า 48.850, 45,927 43.154, 42 280, 37,914, 37.581 และ 37.272 ตัน/เฮกแตร์ ตามลำดับ ส่วนปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในพืชนั้นพบว่าแปรผันโดยตรงกับปริมาณมวลชีวภาพ จากการศึกษาพบว่าแปลงไม้กระถินเทพา มีความสามารถในการเก็บกักคาร์บอนมากที่สุดคือ 92,450 ตัน/เฮกแตร์ รองลงมา ได้แก่ แปลงไม้กระถินณรงค์, แปลงไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส, แปลงไม้แดง แปลงไม้พะยูง, แปลงไม้ประดู่ป่า เลา และหญ้าคา ซึ่งมีค่า 56.737, 55,663, 41.887, 38,463, 24.719 และ 4.290 1,773 ตัน/เฮกแตร์ ตามลำดับ ส่วนปริมาณการเก็บกักคาร์บอน ทั้งในส่วนของพืชและในดินนั้น แปลงไม้กระถินเทพาสามารถเก็บกักคาร์บอนได้มากกว่าแปลงไม้ชนิดอื่นๆ อีกเช่นกันโดยมีค่าเท่ากับ 145.692 ตัน/เฮกแตร์ รองลงมา ได้แก่ แปลงไม้กระถินณรงค์ แปลงไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส แปลงไม้แดง แปลงไม้พะยูง แปลงไม้ประดู่ป่า แปลงเลา และแปลงหญ้าคา โดยมีค่า 94 009, 93 557, 85 041, 80.743, 62.300, 53.140 และ 47.700 ตัน/เฮกแตร์ ตามลำดับ ดังนั้นไม้กระถินเทพาจึงเป็นชนิดไม้ที่น่าสนใจในการปลูกป่าเพื่อการเก็บกักคาร์บอน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”