สัณฐานวิทยาและกายวิภาคของบัวผุด (RAFFLESLA KERRII MEIJER) ในประเทศไทย

Main Article Content

นันทวัน สุปันตี
สุวิทย์ แสงทองพราว

บทคัดย่อ

บัวผุด (Rafflesia kerrii Meijer) เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Rafflesiaceae ไม่มีใบ ลำต้นและราก มีแต่อก และเป็นพืชเฉพาะถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทย บัวผุดคำรงชีวิตแบบพืชเบียน (parasitic plant) อยู่ที่รากพืชให้อาศัย (host plant) ข้อมูลเกี่ยวกับสัณฐานวิทยาของบัวผุดยังไม่สมบูรณ์ และข้อมูลเกี่ยวกับกายวิภาคของพืชชนิดนี้มีน้อยมาก ดังนั้นการศึกษาเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของบัวผุด เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมการศึกษาสัณฐานวิทยาช้วิธีตรวจสอบลักษณะภายนอกและบรรยาย ส่วนการศึกษาลักษณะทางกายวิภาค ใช้วิธีทางค้านไมโครเทคนิค ผลการศึกษาพบว่า บัวผุด (R. kerrii) เป็นพืชเบียนที่รากพืชให้อาศัยชื่อ Tetrastigma lanceolarium (Roxb.) P1. ซึ่งเป็นไม้เถาขนาดกลาง - ขนาคใหญ่ ในวงศ์ Vitidaceac ตอกตูมขนาคเล็กของบัวผุดซึ่งปรากฏที่รากพืชให้อาศัยต้องใช้เวลาประมาณ 8-9 เตือน จึงเป็นดอกบาน ดอกบานเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50-80 เซนติเมตร มีน้ำหนักสด 6-8 กิโลกรัม จัดเป็นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คอกเป็นดอกแยกเพศโดยมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกกัน ดอกบานมีลักษณะเด่นที่กลืบดอก (perigone lobe) กำบังคอก (diaphragm) จานกลางดอก (central disk) และหนาม (process) ซึ่งพบทั้งแบบปลายแหลมและปลายแตกแขนง ดอกบานประมาณ 5-7 วัน และส่งกลิ่นเหม็น จากนั้นจะนำและหลุดจากรากของพืชให้อาศัย การศึกษากายวิภาคของตอกบานของบัวผุดพบว่า ส่วนประกอบของดอกมีโครงสร้างที่ง่าย และไม่ซับซ้อนมีชั้นเซลล์ epidermis อยู่ต้านนอก ระหว่างเซลล์ epidermis เป็น ground tissue ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ parenchyma เป็นส่วนใหญ่ มี vascular bundle และมีเม็ดแป้ง (starch grain) กระจายใน ground tissue โดยกระจุกหนาแน่นใน vascular bundle ตาดอกพัฒนาอยู่ภายใน cortex ของราก T. lanceolarium แล้วเจริญเติบโตดัน cortex ให้ปริแยกออกมาสู่ภายนอกราก เป็นตอกตูมและดอกบานต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ