การเปลี่ยนแปลงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดราไมคอร์ไรซ่าและเห็ดราที่ทำให้ไม้ผุ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำภาคตะวันตกของประเทศไทย

Main Article Content

อนิวรรต เฉลิมพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ได้มุ่งเน้นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดราไมคอร์ไรซ่าและเห็ดราที่ทำให้ไม้ผุในป่าเขตร้อน ท้องที่สถานีวิจัยต้นน้ำแม่กลอง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ภาคตะวันตกของประเทศไทย การวิจัยได้ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2536-2540 รวม 5 ปี โดยได้ทำการวิจัยในป่าธรรมชาติ (แปลงที่ 1 - ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าผสมผลัดใบ) ในป่าที่ผ่านการทำไม้มาก่อน (แปลงที่ 2 – ป่าผสมผลัดใบ ป่าทุ่งหญ้า (แปลงที่ 3) สวนป่าไม้สักปลูกใหม่ (แปลงที่ 4) และสวนป่าไม้สักเก่า (แปลงที่ 5) ผลการวิจัยพบว่า การเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านชีวภาพของเห็ดราไมคอร์ไรซ่าและเห็ดราที่ทำให้ไม่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเภทและคุณภาพของระบบนิเวศป่าไม้ความหลากหลายของพืชอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างเห็ดราและพืชอาศัย ความเฉพาะเจาะจง ความรุนแรงในการทำลายป่า และคุณภาพของระบบนิเวศป่าไม้แต่ละประเภทที่ถูกผลกระทบ จากผลการวิจัยปรากฏว่าได้พบเห็ดราไมคอร์ไรซ่าเพียงประมาณ 50 ชนิดเท่านั้นที่เกิดและพบในป่าธรรมชาติ และป่าที่ผ่านการทำไม้มาก่อน ชนิดเห็ดราที่พบบ่อย ได้แก่ Russula sanguinea. R. brevipes, Amanita caesarea, A. coccora, A. calyptrata, R. brunneoviolacea, R. virescens, Astraeus hygrometricus, Lactarius deliciosus, Cantharellus cibarius, Boletellus emodensis, Coltricia cinnamomea, C. perennis, Pisolithus tinctorius, Scleroderma areolatum และอื่น ๆ ส่วนเห็ดราที่ทำให้ไม้ผุได้พบประมาณ 125 ชนิด ส่วนใหญ่จะพบในบริเวณป่าธรรมชาติและป่าที่ผ่านการทำไม้มาก่อนแล้ว และส่วนมากเป็นเห็ดราในกลุ่ม Basidiomycota และ Ascomycota. ส่วนชนิดในกลุ่ม Basidiomycota ที่พบบ่อย ได้แก่ Microporus xanthopus, Phellinus rimosus, P. gilvus, P. senex, Polyporus grammocephalus, Ganoderma australe, G. lucidum. Hexagonia tenuis, Pycnoporus sanguineus, Stereum ostrea, Trametes flavidum, Earliella scabrosa, Dictyophora indusiata, และอื่น ๆ ส่วนเห็ดราในกลุ่ม Ascomycota ที่สำคัญ ได้แก่ Cookeina tricholoma, C. sulcipes, Daldinia concentrica, Xylaria longipes var tropica X. carpophila และ X. juruensis จำนวนที่เพิ่มขึ้นของไมคอร์ไรซา และปริมาณเห็ดราที่ทำให้ไม้ผุจะเป็นดัชนีที่ช่วยบ่งชี้ถึงความสามารถในการหมุนเวียนธาตุอาหารต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ได้แก่ ฟอสฟอรัส (P) คาร์บอน (C) ในโตรเจน (N) และแร่ธาตุอื่นๆ ในระบบนิเวศวิทยาป่าไม้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ