การประยุกต์ใช้ขวดพลาสติกใช้แล้วเพื่อวัดน้ำฝน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการประยุกต์ใช้ขวดพลาสติกใช้แล้วเพื่อการตรวจวัดน้ำฝน ได้จัดทำขึ้นในระหว่างปี 2536 - 2537 ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ตามพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องวัดน้ำฝนที่ดัดแปลงจากขวดพลาสติกน้ำดื่มใช้แล้วรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว (R2) และ 3 นิ้ว (R3) ได้นำไปติดตั้งที่สถานีตรวจอากาศ ให้เครื่องวัดน้ำฝนมาตรฐานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว (R8) เป็นจุดศูนย์กลาง โดยรอบรัศมี 50 เซนติเมตรวางเครื่องวัดน้ำฝนทั้ง 2 ขนาดสลับคู่กันไประยะห่าง 10 เซนติเมตร ใน 4 ทิศทางคือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก จำนวนเครื่องวัดน้ำฝนทิศทางละ 50 เครื่อง รวมเครื่องวัดน้ำฝนทั้ง 2 ขนาด จำนวน 200 เครื่อง ทำการตรวจสอบข้อมูลปริมาณฝนรายวันของทั้ง 2 ปี จำนวน 93 storms ด้วยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปริมาณฝนที่ได้จากเครื่องวัดทั้ง 2 ขนาดกับเครื่องวัดมาตรฐาน การคาดคะเนปริมาณฝนได้จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝน R8 กับ R2 หรือ R3 จากการศึกษาพบว่าปริมาณฝน R2 R3 และ R8 ในแต่ละปีไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ การคาดคะเนปริมาณฝนด้วยการประยุกต์ใช้ขวดพลาสติก R2 หรือ R3 แทนเครื่องวัดมาตรฐาน R8 อยู่ในรูปความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง มีค่าสัมประสิทธิ์ตัวกำหนด (R2) สูงถึง 99 % แต่ความถูกต้องของการคาดคะเนที่ระดับข้อผิดพลาด ± 2SE อยู่ในช่วง 91 - 98 % ของจำนวนครั้งที่ฝนตก อนึ่งเนื่องจากธรรมชาติของฝนมีความผันแปรในแต่ละปี ดังนั้น ความสัมพันธ์ที่ได้จะมีความน่าเชื่อถือเฉพาะปีที่ทำการเก็บข้อมูลเท่านั้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”