PRODUCTION AND MARKETING OF PLYWOOD IN THAILAND
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการผลิตและการตลาดของไม้อัดในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าในปี พ.ศ. 2543 มีโรงงานไม้อัด 21 โรง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม้อัดคือ ไม้ท่อน ไม้บาง และกาวในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2539 - 2543 พบว่ามีการใช้ไม้ท่อนสูงสุด 562,791 ม3 ในปี พ.ศ. 2543 และต่ำสุด 400,238 ม3 ในปี พ.ศ. 2540 สำหรับไม้บางใช้สูงสุด 6,101 ม3 ในปี พ.ศ. 2541 และต่ำสุด 2,594 ม3 ในปี พ.ศ. 2543 และปริมาณกาวที่ใช้สูงสุด 20,005 ตันในปี พ.ศ. 2543 และต่ำสุด 14,961 ตันในปี พ.ศ. 2541 ปัญหาเกี่ยวกับการผลิตไม้อัดที่พบได้แก่ 1) ความขาดแคลนวัตถุดิบ 2) ขาดแคลนแรงงาน 3) การดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องจักร 4) ต้นทุนการผลิตสูง และ 5) กฎระเบียบทางราชการที่เกี่ยวข้อง ช่องทางการตลาดของไม้อัดจะเป็นไปในลักษณะที่ว่าผู้ผลิตส่วนใหญ่จะขายไม้อัดผ่านตัวแทนจำหน่าย ไม้อัดที่ผลิตได้จะใช้บริโภคภายในประเทศ 90.38 เปอร์เซ็นต์ และที่เหลือ 9.62 เปอร์เซ็นต์ส่งจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ ปัญหาการตลาดที่ผู้ผลิตพบได้แก่ 1) ไม้อัดที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาต่ำกว่าราคาไม้อัดที่ผลิตในประเทศ 2) ลูกค้าจ่ายเงินช้า 3) มีการขายตัดราคา และ 4) ตลาดรองรับไม้อัดมีจำกัด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”