ความหลากชนิดของไม้ยืนต้นในป่าเต็งรังที่สะแกราช จ.นครราชสีมา III. ความผันแปรของความหลากชนิดของไม้ยืนต้นและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาถึงความผันแปรของความหลากชนิดของไม้ยืนต้นในป่าเต็งรังที่สะแกราช อันเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของดิน ได้ใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างดินกับพืชในป่าเต็งรังโดยใช้วิธี discriminant analysis ที่พบว่าความอุดมสมบูรณ์ของดินซึ่งวัดด้วยปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารหลักที่สะสมอยู่ในดินลึกถึง 50 ซม. นั้น มีประสิทธิภาพต่อการวัดความคล้ายคลึงกันของหมู่ไม้ได้ 2 กลุ่ม โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปริมาณอินทรียวัตถุที่สะสมอยู่ในดินน้อย แต่มีแคลเซียมสะสมอยู่มากจะมีจำนวนชนิดของพรรณไม้ (ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับสูงเพียงอกตั้งแต่ 4.5 ซม. ขึ้นไป) ความหลากชนิดของไม้ยืนต้นที่วัดด้วยดัชนี H และ α ความหลากชนิดสูงสุด ความสม่ำเสมอของชนิด ความร่ำรวยของชนิดและความหนาแน่นของต้นไม้ ยกเว้นความเข้มข้นของความเด่น มากกว่าในกลุ่มที่มีปริมาณอินทรียวัตถุที่สะสมอยู่ในดินมาก แต่มีแคลเซียมสะสมอยู่น้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่วัดด้วยปริมาณดังกล่าวนี้ ไม่ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางด้านการเติบโตของต้นไม้ที่วัดด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับสูงเพียงอกเฉลี่ย ความสูงเฉลี่ย พื้นที่หน้าตัดรวมทั้งแปลงเฉลี่ย และปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินรวมทั้งแปลงเฉลี่ยแต่อย่างใด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”