การนำกล่องนม U.H.T. กลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบของแผ่นประกอบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยการนำกล่องนม U.H.T. กลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบของแผ่นประกอบโดยใช้ชิ้นกล่องนม U.H.T. กับชิ้นเกล็ดไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส อายุ 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษากรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิตแผ่นประกอบ ผลการศึกษาพบว่า ค่าความหนาแน่น, ความชื้น, การพองตัวเมื่อแช่น้ำ และการดูดซึมน้ำ แปรผันตามอัตราส่วนของชิ้นเกล็ดไม้ที่เพิ่มขึ้น ค่าความต้านทานแรงดึงตั้งฉากผิวหน้าแปรผกผันตามอัตราส่วนของชิ้นเกล็ดไม้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนค่าความต้านแรงดัดและมอดุลัสยืดหยุ่นจะแปรผกผันตามอัตราส่วนของชิ้นเกล็ดไม้ที่เพิ่มขึ้น (ยกเว้นอัตราส่วน 100 : 0) เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของแผ่นประกอบ กับคุณสมบัติของแผ่นปาร์ติเกิลบอร์ด จากไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส อายุ 15 ปี และกับเกณฑ์กำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ: ความหนาแน่นปานกลาง มอก. 876 - 2532 พบว่าแผ่นประกอบอัตราส่วน 80 : 20 มีคุณสมบัติดีที่สุด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”