การวิเคราะห์ทางการเงินของสวนป่าไม้สักรอบหมุนเวียน 25 ปี : กรณีสวนป่าแม่ลี้ จังหวัดลำพูน

Main Article Content

กรภัทร์ ดำรงค์ไทย
สันต์ เกตุปราณีต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของสวนป่าไม้สักแม่ลี้ อำเภอแม่ลี้ จังหวัดลำพูน ที่มีรอบหมุนเวียน 25 ปี ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบผลตอบแทนในการปลูกสร้างสวนป่าระหว่างสวนป่าที่อยู่ในสภาพปกติ และที่เกิดความเสียหายเนื่องจากถูกหนอนผีเสื้อเจาะทำลายลำต้นของผลิตผล 3 รูปแบบ หรือ 6 กรณีคือ 1) ไม้ท่อนมีตำหนิ 2) ไม้ท่อนสมบูรณ์ 3) ไม้เหลี่ยมมีตำหนิ 4) ไม้เหลี่ยมสมบูรณ์ 5) ไม้แผ่นมีตำหนิ และ 6) ไม้แผ่นสมบูรณ์ โดยพิจารณาต้นทุนและรายได้ที่ได้รับ ทำการวิเคราะห์โครงการโดยใช้ค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิอัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุน ที่อัตราส่วนลด 3 ระดับ คือ 6, 12 และ 18% และอัตราผลตอบแทนภายในนอกจากนี้ยังทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ 3 กรณี คือ 1) กรณีต้นทุนเพิ่ม 15% รายได้คงที่ 2) กรณีต้นทุนคงที่ รายได้ลดลง 15% และ 3) กรณีต้นทุนเพิ่ม 15% และรายได้ลดลง 15% ผลการศึกษาพบว่า ผลตอบแทนทางการเงินในการปลูกสวนป่ากรณีปกติมีค่า NPV มากกว่ากรณีไม่มีตำหนิ โดยเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ตามประเภทของผลิตผลโดยเริ่มจากกรณีที่ 1-6 ตามลำดับดังนี้ อัตราผลตอบแทนภายในกรณีปกติเท่ากับ 12.19, 12.54, 16.88, 17.48, 23.71 และ 25.21% ตามลำดับ ณ อัตราส่วนลด 6% ค่า NPV ของกรณีที่ 1 ลดลง 7.55% เมื่อเทียบกับกรณีที่ 2 ค่า NPV ของกรณีที่ 3 ลดลงจากกรณีที่ 4 เท่ากับ 12.27% รายและค่า NPV ของกรณีที่ 5 ลดลงจากกรณีที่ 6 เท่ากับ 23.48% และเมื่อหาค่าความอ่อนไหวของโครงการพบว่าในกรณีที่ 3 มีความเสี่ยงมากที่สุดเมื่อเทียบกับกรณีที่ 2 และ 1 ตามลำดับ ยิ่งที่ระดับอัตราส่วนลดสูงความเสี่ยงของโครงการยิ่งมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ