ผลของความหนาแน่นของการปลูกป่าต่อการเติบโต และผลผลิตของสวนป่าไม้สะเดา อายุ 12 ปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของความหนาแน่นของการปลูกป่าต่อการเติบโตและผลผลิตของสวนป่าไม้สะเดา อายุ 11 และ 12 ปี ได้ดำเนินการที่สถานีทดลองพรรณไม้ราชบุรี จังหวัดราชบุรี ซึ่งปลูกด้วยระดับความหนาแน่นต่างกัน 8 ระดับ คือ 40,000, 17,778, 10,000, 4.445, 2,500, 625, 278 และ 157 ตัน/เฮกแตร์ เก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม ปี 2537 และ 2538 โดยสำรวจนับจำนวนต้นไม้ วัตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับชิดดิน (Do) และที่ระดับความสูงเพียงอก (D) พร้อมทั้งทำการตัดต้นไม้ตัวอย่างในพื้นที่เว้นไว้เป็นแนวกันชนของแปลงโดยเลือกต้นไม้ที่มีขนาดใกล้เดียงกับค่าเฉลี่ยของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอกในแต่ละชั้นความโตของหมู่ไม้ทุกระยะปลูกรวมกันจำนวน 3 ต้น ทำการตัดทอนเป็นท่อนๆ โดยวิธี stratified clip technique พร้อมทำการขุดรากของต้นไม้ตัวอย่างทั้ง 3 ต้นนี้ด้วย เพื่อนำไปประมาณผลผลิตของส่วนต่างๆ ต่อต้น และผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ของส่วนต่างๆ ของสวนป่าไม้สะเดา การศึกษาพบว่าการเติบโตทางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับชิดดินและที่ระดับสูงเพียงอก จะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อความหนาแน่นลดลงทั้ง 2 ชั้นอายุ โดยที่ความหนาแน่น 57 ต้นต่อเฮกแตร์ มีค่าสูงสุดและมีค่าต่ำสุดที่ความหนาแน่น 40,000 ต้น/เฮกแตร์ ส่วนเปอร์เซ็นต์การรอดตายกี่เป็นในทำนองเดียวกัน สำหรับปริมาณมวลชีวภาพเฉลี่ยต่อต้นของส่วนต่างๆ จะมีค่าลดลงเมื่อความหนาแน่นเพิ่มขึ้น โคยที่ความหนาแน่น 157 ต้น/เฮกแตร์ จะมีค่าสูงสุด และจะมีค่าต่ำสุดที่ความหนาแน่น 40,000 ต้น/เฮกแตร์ ส่วนผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ของส่วนต่างๆ จะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อความหนาแน่นในการปลูกสูงขึ้นจนถึงระดับความหนาแน่น 10,000 ต้น/เฮกแตร์ จะให้ผลผลิตสูงสุด จากนั้นที่ระดับความหนาแน่นในการปลูกที่สูงขึ้นไปมีแนวโน้มที่จะให้ผลผลิตลดต่ำลง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”