การศึกษาด้านนิเวศวิทยาของพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วในป่าเต็งรัง IV. การขึ้นร่วมกันและความผันแปรร่วมกันของพรรณไม้ต่างชนิดในถิ่นฐานเดียวกัน

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ

บทคัดย่อ

การศึกษาการขึ้นร่วมกันและความผันแปรรวมกันของพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วกับพรรณไม้ชนิดอื่นในป่าเต็งรัง ได้ดำเนินการที่สะแกราช โดยการสุ่มเลือกหมู่ไม้จำนวน 16 หมู่ไม้ โดยใช้แปลงตัวอย่างขนาด 2,500 ม2 พบพรรณไม้ทุกชนิด (DBH ≥ 4.5 ซม.) ราม 46 ชนิด และมีพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่ว 8 ชนิด พรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วทั้ง 8 ชนิดนี้มีการขึ้นร่วมกันแบบเป็นบากเกิน 50% กับพรรณไม้ชนิดอื่น จำนวน 6 ชนิด คือ ก๋างขี่มอด เสี้ยวป่า เก็ดดำ ประดู่ มะคำแต้ และแดง น้อยกว่า 50% จำนวน 2 ชนิด คือ ชงโคดำ และกระพี้เขาควาย ทั้งนี้โดยเฉพาะประดู่จะขึ้นร่วมกันอย่างเป็นบวกกับพรรณไม้ชนิดอื่นทุกชนิด มีดัชนีการขึ้นร่วมกันต่างกันไปแล้วแต่ชนิดพรรณไม้ ในระหว่างพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วด้วยกันนั้น ชงโคดำ กระพี้เขาควาย ประดู่ มะค่าแต้ และแดง จะขึ้นร่วมกันแบบเป็นบวกมากกว่าเป็นลบ ก๋างขี้มอด เสี้ยวป่า และเก็ดดำ จะขึ้นร่วมกันแบบเป็นลบมากกว่าเป็นบวก ส่วนประดู่จะขึ้นร่วมกับพรรณไม้ตระกูลถั่วทุกชนิดแบบเป็นบวก พรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วที่มีความฝันแปรร่วมกันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ มีอยู่ 6 ชนิดคือ ก๋างขี่มอด เสี้ยวป่า เก็คดำ กระพี้เขาควาย ประดู่ และมะค่าแต้ ซึ่งมีความผันแปรร่วมกันในทางบากกับพรรณไม้ชนิดอื่น จำนวน 3, 2, 3, 1, 3 และ 6 ชนิด ตามลำดับและในทางลบอย่างมีนัยสำคัญมีอยู่ 5 ชนิด คือ ก๋างขี้มอด เก็ดดำ ประดู่ มะค่าแต้ และแดง จำนวน 2, 1, 3, 2 และ 1 ชนิด ตามลำดับ ระหว่างพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วด้วยกันทั้ง 8 ชนิด ที่มีตามผันแปรรามกันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ คือ เก็ดดำกับมะค่าแต้ และผันแปรร่วมกันในทางลบมานางมีนัยสำคัญคือ แดงและมะค่าแต้เท่านั้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ