ผลของไฟป่าต่อความหลากหลายของสัตว์ที่มีขาเป็นปล้องในดิน ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

Main Article Content

อาภรณ์ อุดมศิลป์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง บริเวณอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย โดยติดตามการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายและความหนาแน่นของระดับชั้น (class) อันดับ (order) วงศ์ (family) สกุล (genus) และจำนวนตัว (Individual) ในพื้นที่ก่อนและหลังเกิดไฟป่า โดยวางแปลงทดลองชั่วคราวเก็บตัวอย่างขนาด 1 x 1 ตารางเมตร จำนวน 10 แปลง ในป่าแต่ละชนิด ผลปรากฏว่าความหลากหลายและความหนาแน่นของสัตว์ที่มีขาเป็นปล้องในดินในพื้นที่หลังเกิดไฟป่ามีจำนวนลดลงในป่าทุกชนิด ในป่าสนเขาไฟมีผลให้สัตว์เหล่านี้มีเปอร์เซ็นต์การลดลงโดยรวมของจำนวนชั้น อันดับ วงศ์ สกุล และจำนวนตัวมากที่สุด คือ 20.00, 47.37, 54, 55, 63.64 และ 73.22 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังได้รับผลกระทบจากการเกิดไฟป่าใกล้เคียงกัน ป่าดิบเขาได้รับผลกระทบน้อยที่สุดคือมีเปอร์เซ็นต์การลดลง 0.00, 27.27, 32.08, 53.06 และ 53.96 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ