ผลของวัสดุเพาะชำต่อการเติบโตของกล้าไม้ยางแดง

Main Article Content

ชนะ ผิวเหลือง
สมยศ กิจค้า
จุติเทพ โพธิปักษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของวัสดุเพาะชำต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางแดง ได้ดำเนินการที่เรือนเพาะชำของศูนย์จัดการเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยใช้แผนการทดลองแบบ Completely Random Design มีทั้งหมด 6 ทรีทเมนต์ ได้แก่ ขุยมะพร้าว ขุยมะพร้าวใส่ปุ๋ย osmocote ดินเชื้อไมคอร์ไรซา ดินเชื้อไมคอร์ไรซาใส่ปุ๋ย osmocote ขุยมะพร้าวผสมดินเชื้อไมคอร์ไรซา และขุยมะพร้าวผสมดินเชื้อไมคอร์ไรซาใส่ปุ๋ย osmocote แต่ละทรีทเมนต์มี 3 ซ้ำ ทำการวัดความสูง และความโตที่ระดับคอรากของกล้าไม้ก่อนการย้ายชำลงในวัสดุที่ใช้ทดสอบ และเมื่อกล้าไม้อยู่ในเรือนเพาะชำครบ 2, 3, 6 และ 9 เดือน ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองนำกล้าไม้ไปอบและชั่งหาน้ำหนักแห้งของส่วนยอด ส่วนราก น้ำหนักแห้งรวม และสัดส่วนระหว่างน้ำหนักแห้งของส่วนยอดต่อส่วนราก ผลการศึกษาพบว่า กล้าไม้ยางแดงในวัสดุเพาะชำ 6 ชนิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติทางด้านความสูง ความโดที่ระดับคอราก และน้ำหนักแห้งของส่วนยอด ส่วนราก น้ำหนักแห้งรวม และสัดส่วนระหว่างน้ำหนักแห้งของส่วนยอดต่อส่วนราก โดยขุยมะพร้าวใส่ปุ๋ย osmocote และขุยมะพร้าวผสมดินเชื้อไมคอร์ไรซาใส่ปุ๋ย osmocote เป็นวัสดุเพาะชำที่ช่วยส่งเสริมให้กล้าไม้ยางแดงมีการเจริญเติบโตทางความสูง ความโตที่ระดับคอราก และน้ำหนักแห้งมากที่สุด แต่ขุยมะพร้าวเพียงอย่างเดียวทำให้กล้าไม้ยางแดงมีการเจริญเติบโตทางความสูง ความโตที่ระดับคอราก และน้ำหนักแห้งน้อยที่สุด ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า ขุยมะพร้าวใส่ปุ๋ย Osmocote และขุยมะพร้าวผสมดินเชื้อไมคอร์ไรซาใส่ปุ๋ย osmocote เป็นวัสดุเพาะชำที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะชำกล้าไม้ยางแดงในเรือนเพาะชำ และเชื้อไมคอร์ไรซาและปุ๋ย osmocote มีความสัมพันธ์ทางด้านบวกต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ในวงศ์ไม้ยางชนิดนี้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ