การศึกษาทางสัณฐานวิทยาและการจำแนกชนิดกล้าไม้ยืนต้นบางชนิดบริเวณป่าดิบแล้ง คลองพลู ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาทางสัณฐานวิทยา และการจำแนกชนิดกล้าไม้ยืนต้นนางชนิดในป่าดิบแล้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้ทำการศึกษาโดยการออกสำรวจพร้อมกับการวิเคราะห์ชื่อพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้อง และศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและพฤติกรรมการงอกของกล้าไม้แต่ละชนิดทั้งในภาคสนาม ในท้องที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และเรือนเพาะชำของภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ รวมทั้งจัดทำรูปวิธานจำแนกสกุลและชนิดของกล้าไม้ โดยอาศัยลักษณะการงอกและลักษณะทางสัณฐานวิทยาต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษา จากการศึกษากล้าไม้ของพันธุ์ไม้จำนวน 52 ชนิด จาก 28 วงศ์ 49 สกุล พบว่าลักษณะสัณฐานของกล้าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ลักษณะของใบเลี้ยงมีอยู่ 10 แบบ รูปแบบการงอกแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม โดยสามารถนำมาจัดจำแนกกลุ่มกล้าไม้ออกเป็น 9 กลุ่ม โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่สำคัญของกล้าไม้คือ รูปแบบการงอก ลักษณะและหน้าที่ใบเลี้ยง ลักษณะใบแรก การเรียงตัวของใบแรก และลักษณะการเรียงตัวของใบในลำดับต่อ ๆ มา และสามารถจัดทำรูปวิธานจำแนกชนิดโดยอาศัยจากข้อมูลทางสัณฐานวิทยาที่สามารถนำมาวิเคราะห์ชนิดกล้าไม้ได้ในภาคสนาม
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”