การศึกษาด้านนิเวศวิทยาของพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วในป่าเต็งรัง II. รูปแบบการขึ้นกระจายของชนิดพรรณไม้ในถิ่นฐาน

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ

บทคัดย่อ

การตรวจสอบรูปแบบการขึ้นกระจายของพรรณไม้ทุกชนิดและพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วในป่าเต็งรัง ทั้ง 16 สังคมย่อย โดยการใช้วิธีการทดสอบแบบ X2-test ว่ารูปแบบดังกล่าวนี้จะเป็นแบบอนุกรมล็อกการิทึ่ม หรือ อนุกรมเรขาคณิต หลังจากได้คำนวณหาดัชนีความหลากชนิดของ Fisher (α) แล้วพบว่ามีหมู่ไม้ทั้งสิ้น 46 หมู่ไม้ ที่มีการขึ้นกระจายเป็นแบบอนุกรมล็อกการิทึ่ม โดยมีพรรณไม้ที่มี D ≥ 10 เซนติเมตร จำนวน 38 หมู่ไม้และที่มี D ≥ 4.5 เซนติเมตร จำนวน 8 หมู่ไม้ และมี 16 หมู่ไม้ เป็นแบบอนุกรมเรขาคณิต โดยมีพรรณไม้ที่มี D ≥ 10 เซนติเมตร จำนวน 13 หมู่ไม้ และที่มี D≥ 4.5 เซนติเมตร จำนวน 3 หมู่ไม้ แสดงถึงการคล้อยตามสมมติฐานของการขึ้นอยู่กับถิ่นฐานประเภทผู้มาก่อนมีสิทธิ์ก่อน โดยไม่มีการแบ่งแยกความต้องการถิ่นฐานอย่างเด่นชัด ในระหว่างพรรณไม้เด่นที่ประกอบอยู่ในหมู่ไม้นั้น ๆ ยกเว้นหมู่ไม้ที่มีพรรณไม้ตระกูลอื่นที่ไม่ใช่ตระกูลยางที่ขึ้นอยู่ในที่ค่อนข้างสูง พรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วที่ขึ้นอยู่ในป่าเต็งรัง จำนวน 21 ชนิดนั้น พบว่ามีการขึ้นกระจายในชั้นความหลากหลายต่ำ - ปานกลาง ทั้ง 2 ขนาดจำกัด ในอนุกรมทั้ง 2 แบบ มีพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่ว 2 ชนิด คือ ประดู่ และแดง เท่านั้นที่มีการขึ้นกระจายในชั้นความหลากหลายสูงทั้ง 2 ขนาดจำกัด การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วส่วนใหญ่ในป่าเต็งรังนั้นเกือบจะเป็นพรรณไม้ที่หายาก และค่อนข้างหายาก อาจจะต้องการถิ่นฐานจำเพาะและมีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรในระดับปานกลาง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ