การศึกษาด้านนิเวศวิทยาของพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วในป่าเต็งรัง III. รูปแบบการขึ้นกระจายของชนิดพรรณไม้ และความสัมพันธ์ของการขึ้นกระจายในถิ่นฐานเดียวกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาถึงการขึ้นกระจายของพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่ว ใน 4 หมู่ไม้ ของป่าเต็งรัง 4 ประเภทย่อยที่มีพรรณไม้เด่นต่างกัน ในท้องที่เดียวกัน ที่สะแกราช ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบว่าพรรณไม้ทุกชนิดรวมกัน (DBH ≥ 4.5 ซม.) จะขึ้นกระจายแบบสุ่มทั้ง 4 หมู่ไม้ แต่การขึ้นกระจายของพรรณไม้เด่นและพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วในแต่ละหมู่ไม้จะเป็นการจับกลุ่ม โดยมีขนาดของกลุ่มผันแปรไปตามความแออัด และความหนาแน่นเฉลี่ยของพรรณไม้ชนิดนั้น ๆ นอกจากนี้พรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วแต่ละชนิด ส่วนใหญ่จะขึ้นกระจายร่วมกับพรรณไม้เด่นในแต่ละหมู่ไม้แบบกึ่งอิสระกึ่งเหลื่อมล้ำ มีพรรณไม้ตระกูลถั่วอยู่ 3 ชนิด คือ ก๋างขี้มอด ที่ขึ้นกระจายร่วมกับไม้เต็ง ไม้แดงขึ้นกระจายร่วมกับไม้รัง พะยอม และก่อแพะ ส่วนประดู่ขึ้นกระจายร่วมกับพรรณไม้เด่นทุกชนิดที่พบในท้องที่แห่งนี้ ส่วนมะค่าลิง และชงโคดำ จะเป็นพรรณไม้ที่ค่อนข้างหายาก และขึ้นกระจายอย่างเป็นอิสระจากไม้เด่น ในบางหมู่ไม้เท่านั้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”