เศรษฐกิจและการตลาดของการปลูกสร้างสวนป่าไม้ยูคาลิปตัสในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การผลิต การตลาด และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกสร้างสวนป่าไม้ยูคาลิปตัสในจังหวัดขอนแก่น จากการศึกษาพบว่าผู้ปลูกไม้ยูคาลิปตัสส่วนมากมีอาชีพหลักทางด้านเกษตรกรรม โดยได้รับความรู้ในการปลูก บำรุงดูแลรักษา และกิจกรรมการตลาดของไม้จากเจ้าหน้าที่ของ บริษัท ฟินิกซ์ พัลพ์ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ไม้ยูคาลิปตัสนิยมปลูกชนิดเดียวล้วน ๆ โดยใช้ระยะปลูก 2 x 2 เมตร และปลูกควบกับพืชเกษตรในปีแรกระยะปลูก 3 x 3 เมตร โดยใช้รอบหมุนเวียน 3 ปี การขายไม้ส่วนมากผู้ปลูกจะนำไม้ไปขายยังโรงงานทำเยื่อกระดาษ (บริษัท ฟินิกซ์ฯ ) รองลงมาขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ราคาของไม้ส่วนมากจะถูกกำหนดราคาโดย บริษัท ฟินิกซ์ฯ รองลงมาเป็นราคาต่อรองที่ผู้ผลิตและผู้ซื้อพอใจกันทั้งสองฝ่าย การซื้อขายไม้มี 3 แบบ คือ ขายเป็นน้ำหนักราคาเฉลี่ย 706 บาทต่อตัน ขายเป็นไร่ราคาเฉลี่ย 3,479 บาทต่อไร่ และขายเป็นต้นราคาเฉลี่ย 35 บาทต่อต้น สำหรับการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกสร้างสวนป่า พบว่าผู้ปลูกนำไม้ไปขายยังแหล่งรับซื้อ ณ ระดับอัตราส่วนลด 6, 9, 12, 15 และ 18 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.81, 1.77, 1.73, 1.69 และ 1.65 ตามลำดับ และอัตราส่วนลดดังกล่าวมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 3.188.01, 2,847.40, 2,544.80, 2,275.28 และ 2,034.58 บาทต่อไร่ ตามลำดับ โดยมีอัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุนเท่ากับ 85.37 เปอร์เซ็นต์ และในกรณีที่ผู้ปลูกขายไม้ให้กับพ่อค้าคนกลางที่สวนป่า ณ ระดับอัตราส่วนลด 6, 9, 12, 15 และ 18 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.61, 1.54, 1.46, 1.40 และ 1.3.3 ตามลำดับ และ ณ อัตราส่วนลดเดียวกันมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 1,111.64, 937.79, 784.21, 649.24 และ 529.44 บาทต่อไร่ ตามลำดับ โดยมีอัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุนเท่ากับ 38.40 เปอร์เซ็นต์
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”