ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อปริมาณและการไหลของน้ำท่าในลุ่มน้ำป่าสัก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อปริมาณ และลักษณะการไหลของน้ำท่าในลุ่มน้ำป่าสัก ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำท่า ปริมาณน้ำฝน และพื้นที่ป่าไม้ในระหว่างปี พ.ศ. 2516 - 2534 วิเคราะห์สหสัมพันธ์โดยสมการถดถอยเชิงซ้อน ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่ป่าไม้ในลุ่มน้ำป่าสักตอนบนลดลงจาก 50 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 25 เปอร์เซ็นต์ และในลุ่มน้ำป่าสักทั้งลุ่มลดลงจาก 32 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 17 เปอร์เซ็นต์ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำท่าและปริมาณน้ำฝนมีลักษณะเป็นเส้นตรง และเป็นปฏิภาคโดยตรงกับปริมาณน้ำฝนรายปี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินพบว่า ศักยภาพการเอื้ออำนวยน้ำท่าในช่วงน้ำหลากของลุ่มน้ำป่าสักตอนบนจะเพิ่มมากขึ้น แต่ในลุ่มน้ำป่าสักทั้งลุ่มไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ จากการวิเคราะห์ลักษณะการไหล พบว่าลุ่มน้ำป่าสักมีน้ำไหลในช่วงน้ำหลากประมาณ 92 เปอร์เซ็นต์ และช่วงน้ำแล้ง 8 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากได้มีการดำเนินการจัดการลุ่มน้ำทั้งโดยการจัดระบบการปลูกพืชและการสร้างอ่างเก็บน้ำอเนกประสงค์ก็จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำได้ในระดับหนึ่ง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”