ปัจจัยสิ่งแวดล้อมแสงของรากอากาศไม้ป่าชายเลน
Main Article Content
บทคัดย่อ
รากอากาศของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในสกุลแสม (Avicennia) และลำพู - ลำแพน (Sonneratia) สามารถสังเคราะห์แสงและผลิตกาซออกซิเจนเพื่อช่วยการหายใจของรากที่อยู่ในดินเลนซึ่งมีออกซิเจนไม่เพียงพอ เพื่อให้ทราบสภาวะแวดล้อมเกี่ยวกับปริมาณแสงบริเวณรากอากาศดังกล่าว จึงได้ทดลองใช้แผ่นฟิล์มสี (dye film) ตรวจวัดปริมาณความเข้มของแสงบนพื้นผิวตามแนวดิ่งใต้ระดับผิวน้ำที่ระยะต่าง ๆ กัน ปรากฏว่า ในช่วงกลางวันปริมาณความเข้มของแสงเฉลี่ยที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร มีค่าใกล้เคียงกับค่า light compensation point ของรากอากาศ ซึ่งจากผลอันนี้ สามารถอนุมานได้ว่าการสังเคราะห์แสงของรากอากาศในเวลากลางวัน นอกจากช่วยชดเชยปริมาณกาซออกซิเจนที่ใช้สำหรับการหายใจของรากอากาศในขณะที่จมอยู่ใต้ผิวน้ำแล้ว ยังผลิตออกซิเจนให้กับระบบรากที่อยู่ใกล้ผิวดินอีกด้วย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”