ลักษณะโครงสร้างใบและอัตราการสังเคราะห์แสง ของกล้าไม้ประดับยืนต้นบางชนิด

Main Article Content

ลดาวัลย์ พวงจิตร
ธเนศ เสียงสุวรรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะโครงสร้างของใบ และอัตราการสังเคราห์แสงของกล้าไม้ประดับยืนต้นครั้งนี้ ได้ทำการศึกษากับกล้าไม้ประดับที่พบในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ ประดู่ป่า พิกุล อินทนิลน้ำ ชัยพฤกษ์ มะขาม และไทรใบทอง อายุระหว่าง 12-18 เดือน โดยทำการศึกยาลักษณะโครงสร้างของใบ จำนวน ขนาด และการกระจายของปากใบ ความผันแปรของอัตราการสังเคราะห์แสงในช่วงวันของแต่ละฤดูกาล และการตอบสนองต่อปริมาณความเข้มแสงของกล้าไม้ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะโครงสร้างของใบแตกต่างกันในใบไม้แต่ละชนิด กล้าไม้ส่วนมากมีปากใบเป็นแบบ hypostomatous ยกเว้นมะขามเป็นแบบ amphistomatous จำนวนปากใบต่อพื้นที่มีมากที่สุดในไทรใบทองและมีน้อยที่สุดในพิกุล ขนาดของปากใบที่วัดตามความยาวของปากใบใหญ่ที่สุดในไทรใบทอง และเล็กที่สุดในมะขาม โดยมีการกระจายของปากใบบนผิวใบแตกต่างกันไปตามชนิดไม้ จากการศึกษาอัตราการสังเคราะห์แสงของกล้าไม้พบว่า การสังเคราะห์แสงสุทธิของกล้าไม้ในช่วงวันมีแนวโน้มคล้ายคลึงกันในกล้าไม้ทุกชนิด อัตราการสังคราะห์แสงสุทธิในเดือนพฤษภาคมมีค่าสูงกว่าในเดือนธันวาคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกล้าไม้เกือบทุกชนิดยกเว้นกล้าไม้ไทรใบทองและพิกุล อัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิมีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มของแสง และมีความเข้มแสงอิ่มตัวที่ระหว่าง 350-650 μmol/m2/s และความเข้มแสงอิ่มตัวในช่วงเช้าจะสูงกว่าในช่วงบ่าย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ