มวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้โตเร็ว 2 ชนิดในแปลงเกษตรป่าไม้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษามวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้โตเร็ว 2 ชนิดอายุ 5 ปี จากแปลงเกษตรป่าไม้ บริเวณศูนย์จัดการต้นน้ำชีตอนบน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ระหว่างปี 2531 ถึงปี 2535 โดยวางแปลงทดลองขนาด 4 x 20 เมตร บนพื้นที่ความลาดชัน 9 เปอร์เซ็นต์ โดยปลูกไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส และไม้กระถินยักษ์ มี 2 ระยะปลูก คือ 4 x 4 เมตร และ 2 x 8 เมตร และปลูกพืชเกษตรควบ 2 ชนิด ได้แก่ มันสำปะหลัง และถั่วลิสง จำนวน 8 แปลง และทำการทดลอง 3 ซ้ำ รวมทั้งสิ้น 24 แปลง สรุปได้ว่าค่าเฉลี่ยของมวลชีวภาพเหนือพื้นดินทั้งหมดจากแปลง Cassava-Euc-4 x 4, Peanut Euc-4 x 4, Cassava-Euc-2 X 8, Peanut-Euc-2 x 8, Cassava-Leu-4 x 4, Peanut-Leu-4 x 4, Cassava-Leu-2 x 8 และ Peanut-Leu-2 x 8 มีค่าเท่ากับ 64.54, 54.09, 61.79, 73.41, 17.86, 14.17, 23.04 และ 19.30 กิโลกรัม / ต้น ตามลำดับ และผลการศึกษาพบว่า แปลงเกษตรป่าไม้ที่ปลูกชนิดไม้และระยะปลูกเดียวกัน เมื่อปลูกมันสำปะหลังควบส่วนมากมีค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินมากกว่าการปลูกถั่วลิสงควบ สำหรับแปลงเกษตรป่าไม้ที่ปลูกชนิดไม้และปลูกพืชเกษตรชนิดเดียวกัน เมื่อใช้ระยะปลูก 2 x 8 เมตร ส่วนมากมีค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินมากกว่าการใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตร และมวลชีวภาพเหนือพื้นดินเฉลี่ยของไม้ยูคาลิปตัสมีค่ามากกว่าไม้กระถินยักษ์
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”