ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ และเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกของต้นไม้ในป่าดิบแล้ง ที่สะแกราช จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประมาณอายุของต้นไม้ในป่าดิบแล้ง ที่สะแกราช จังหวัดนครราชสีมา วิเคราะห์โดยใช้วิธีหาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของพันธุ์ไม้แต่ละชนิด โดยอาศัยค่าความเพิ่มพูนด้านเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยรายปี หรือราย 2 ปี ของต้นไม้ที่ศึกษา ซึ่งวัดโดยใช้ dendrometer พันธุ์ไม้ในเรือนยอดชั้นบน มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าพันธุ์ไม้ในเรือนยอดชั้นรอง และชั้นไม้เล็กพันธุ์ไม้ในเรือนยอดชั้นบน เช่นเคี่ยมคนอง (Shorea henryana) ลูกดิ่ง (Pakia sumatrana) มันปลาไหล (Homalium sp.) และเขล็ง (Dialium cochinchinensis) ที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก 30 เซนติเมตร มีอายุประมาณ 78 - 144 ปีตะเคียนหิน (Hopea ferrea) เป็นพันธุ์ไม้ในเรือนยอดชั้นบนเพียงชนิดเดียวที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้า โดยต้นตะเคียนหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก 30 เซนติเมตร ต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโต 265 ปี พันธุ์ไม้ในเรือนยอดชั้นรอง และในชั้นไม้เล็ก เช่น ค้างคาว (Aglaia pinfera) กัดลิ้น (Wasara richostemmon) พลอง (Memecylon spp.) กะเบากลัก (Hydrocarpus castaneus) ที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก 30 เซนติเมตร จะมีอายุประมาณ 144 - 452 ปี การศึกษาครั้งนี้ได้ประมาณอายุของพันธุ์ไม้ทั้งสิ้นจำนวน 18 ชนิด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”