ไม้แปรรูปและการใช้ประโยชน์ไม้ขนาดเล็กจากสะเดาเทียมอายุ 6 ปี

Main Article Content

สุธี วิสุทธิเทพกุล
วรกิจ สุนทรบุระ
ศรัณธร สุขวัฒน์นิจกูล

บทคัดย่อ

ผลการแปรรูปไม้สะเดาเทียม อายุ 6 ปี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 12.2 - 17.6 เซนติเมตร (5 - 7 นิ้ว) จำนวน 15 ท่อน ได้ไม้แปรรูปเฉลี่ย 33 % ไม้แปรรูปจะมีลักษณะของการบิดงอ (warp) และติดไส้จำนวนมาก แผ่นเนื้อไม้เป็นส่วนของกระพี้มากกว่าแก่น ประมาณว่าไม้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลังจากการไส ปรับแต่งเหลือเพียง 20 - 25 % สะเดาเทียมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12.2 - 17.6 เซนติเมตร มีขนาดเล็กเกินไป ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้งานในลักษณะไม้แปรรูป เพราะอัตราการแปรรูปไม้ต่ำ สูญเสียเนื้อไม้ในการใช้งานสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจน้อยกว่าการใช้งานในแบบไม้เสาเข็มถึง 30 % ในพื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งปลูกสะเดาเทียมสลับกับยูคาลิปตัส คามาสดูเลนซิส ระยะปลูก 2 x 2 เมตร เมื่อนำสะเดาเทียมมาแปรรูปจะมีรายได้ประมาณ 8.950 บาท แต่หากขายในรูปของไม้เสาเข็มจะมีรายได้ถึงประมาณ 12,490 บาท สะเดาเทียมอายุ 6 ปี เนื้อไม้จะมีน้ำหนักปานกลาง มีความหนาแน่นที่ผึ่งแห่งความชื้น 13.5 % เท่ากับ 0.51 กรัม / ลูกบาศก์เซนติเมตร การหดตัวด้านสัมผัส 2.81 % ด้านรัศมี 0.99 % ในสภาพสดถึงแห้งในอากาศ และหดตัวด้านสัมผัส 5.07 % ด้านรัศมี 2.74 % ในสภาพสดถึงอบแห้ง ตามลำดับ สะเดาเทียมมีคุณสมบัติพื้นฐานที่เหมาะสมในการใช้ทำเครื่องเรือน กรอบวงกบ บานประตูหน้าต่าง การกลึง แกะสลัก ขนาดของไม้ท่อนที่นำมาใช้ในการแปรรูปนั้น ควรพิจารณาไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 25 เซนติเมตร (10 นิ้ว) และอายุ 10 ปีขึ้นไป เพื่อจะทำให้ได้ไม้แปรรูปเพิ่มมากขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ