ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนชนิดและขนาดของพื้นที่ ของพืชพรรณ์ไม้ในป่าเต็งรัง

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ

บทคัดย่อ

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนชนิดของต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตรงระดับสูง 1.30 เมตร เหนือพื้นดิน ตั้งแต่ 45 เซนดิเมตรขึ้นไป กับขนาดของพื้นที่ของป่าเต็งรังเปรียบเทียบกับป่าดิบแล้งที่สะแกราช โดยใช้แปลงตัวอย่าง (quadrat) รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ตารางเมตร ขึ้นไปจนถึง 1 เฮกแตร์ โดยการเพิ่มขนาดพื้นที่ในรูปต่อเนื่อง พบว่าการใช้โมเดลที่ดัดแปลงจาก logarithmic series ของ Fisher และคณะ (1943) นั้นไม่เพียงพอสำหรับการอธิบายถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวในป่าทั้งสองประเภท เนื่องจากลักษณะการขึ้นกระจายของชนิดพรรณไม้ไม่สม่ำเสมอแต่เป็นแบบจับกลุ่ม และดัชนีความหลากชนิดเปลี่ยนแปลงไปเมื่อแปลงตัวอย่างมีขนาดเพิ่มขึ้น ได้ใช้โมเคลความสัมพันธ์ 7 โมเคลกับป่าเต็งรังที่มีชนิคพรรณไม้เด่นต่างกัน 4 หมู่ไม้ เปรียบเทียบกับป่าดิบแล้งที่ขึ้นอยู่ในท้องที่เดียวกันแล้วพบว่า โมเดล exponential function จะใช้ได้ดีสำหรับป่าเต็งรังทั้ง 4 หมู่ไม้ ทั้งที่พิจารณาแยกจากกัน หรือพิจรณาทุกหมู่ไม้โดยเฉลี่ยร่วมกัน แต่ในทางตรงกันข้ามในป่าดิบแล้งนั้นจะใช้โมเดลสมการยกกำลังได้ดีเท่าๆ กับโมเดล exponential function


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ