ผลผลิตซากพืช และปริมาณธาตุอาหารในซากพืชของป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปริมาณซากพืชของป่าพรุโต๊ะแดง ดำเนินการศึกษาที่บริเวณศูนย์วิจัย และศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร จังหวัดนราธิวาส ระหว่างเดือนมิถุนายน 2534 ถึง เดือนพฤษภาคม 2537 โดยวางกระบะรองรับซากพืชขนาด 1 x 1 เมตร จำนวน 16 กระบะ แต่ละกระบะวางห่างกัน 25 เมตร เก็บซากพืชทุกเดือน นำไปแยกเป็นซากพืชส่วนใบ เนื้อไม้ สืบต่อพันธุ์ และอื่น ๆ นำไปอบหาน้ำหนักแห้ง ปริมาณซากพืชเฉลี่ยส่วนใบ เนื้อไม้ สืบต่อพันธุ์ อื่น ๆ และรวมทุกส่วน มีค่าเท่ากับ 4.1, 1.4, 0.4, 0.8 และ 6.7 ต้น / เฮกแตร์ / ปี ตามลำดับ และปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม และเมกนีเซียมในซากพืชที่ร่วงหล่น มีปริมาณเฉลี่ย 53.7, 3.1, 71.2, 71.7 และ 13.9 กิโลกรัม / เฮกแตร์ / ปี ตามลำดับ ปริมาณซากพืชส่วนใบจะร่วงหล่นมากตั้งแต่เริ่มฤดูฝน จนถึงกลางฤดูฝน และจะร่วงหล่นน้อยที่สุดในเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงสุด คือเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคม
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”