การสูญเสียดินและน้ำจากพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการสูญเสียดินและน้ำ จากแปลงที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันบริเวณโครงการพัฒนาชนบทสุมน้ำพอง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ระหว่างปี 2531 ถึงปี 2535 โดยวางแปลงทดลองขนาศ 4 X 20 เมตร บนพื้นที่ที่มีความลาดชัน 9 เปอร์เซ็นต์ จากแปลงปลูกสร้างสวนป่า ซึ่งปลูกไม้ยูคาลิปตัสและไม้กระถินยักษ์ โดยมีระยะปลูก 4 x 4 และ 2 x 8 เมตร จำนวน 4 แปลง จากแปลงปลูกพืชเกษตร ซึ่งปลูกมันสำปะหลังและถั่วลิสงจำนวน 2 แปลง จากแปลงเกษตรป่าไม้ ซึ่งปลูกไม้ 2 ชนิด (ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิสและกระถินยักษ์) โดยมี 2 ระยะปลูก (4 x 4 และ 2 x 8 เมตร) และปลูกพืชเกษตรควบ 3 ชนิดมันสำปะหลังและถั่วลิสง) จำนวน 8 แปลง และจากแปลงควบคุม จำนวน 1 แปลง รวม 15 แปลงทดลอง และทำการทดลองจำนวน 3 ซ้ำ รวมทั้งสิ้นจำนวน 45 แปลง ผลการศึกษาการสูญเสียดินและน้ำระหว่างปี 2531 ถึง 2535 สรุปได้ว่า ค่าเฉลี่ยการสูญเสียดินและน้ำจากแปลงปลูกสร้างสวนป่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.60, 1.50, 0.20, 0.40 และ 0.07 ตัน / เฮกแตร์และ 115.5, 57.2, 39.5, 48.9, และ 18.3 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากแปลงปลูกพืชเกษตรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.60, 21.10, 9.60, 7.00 และ 4.99 ต้น / เฮกแตร์ และ 363.8, 232.0, 328.9, 257.2, และ 174.2 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากแปลงเกษตรป่าไม้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.50, 15.10, 5.90, 4.60, และ 3.29 ตัน / เฮกแตร์ และ 395.6, 239.7, 293.2, 238.7, และ 144.8 มิลลิเมตร ตามลำดับ และจากแปลงควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 74.20, 29.60, 0.40, 0.30, และ 0.02 ตัน / เฮกแตร์ และ 377.7, 294.5, 55.1, 37.5 และ 5.5 มิลลิเมตร ตามลำดับ สำหรับผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าการสูญเสียดินและน้ำจากแปลงที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันในแต่ละปีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”