การผลิตถ่านอัดก้อนจากกิ่งไม้ต่างถิ่นสี่ชนิด

Main Article Content

ปรีชา เกียรติกระจาย

บทคัดย่อ

การทำถ่านอัดก้อนจากกิ่งไม่ตางถิ่น อายุประมาณ 10 ปี ซึ่งปลูกที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ คือ Acacia confuse, Cinnamomum camphora, Fraxinus griffithi และ Liquidambar formosana โดยศึกษาตามลำดับ คือประเมินสมบัติของวัตถุดิบ อบกิ่งไม้เป็นถ่านที่ 450 องศาเซลเซียส ประเมินสมบัติของถ่านผงและถ่านอัดก้อน ได้ผลการศึกษาโดยสรุปดังนี้ ค่าเฉลี่ยของสมบัติด้านพลังงานของกิ่งและผงถ่านจากพืชทั้งสี่ชนิดตามลำดับ คือ ปริมาณสารระเหยร้อยละ 81.0 - 87.5 และ 18.8 - 23.7 ปริมาณคาร์บอนคงตัวร้อยละ 11.9 - 17.2 และ 66.8 - 76.4 ปริมาณขี้เถ้าร้อยละ 0.54 - 2.41 และ 2.01 - 9.53 และค่าความร้อนของสันดาป 4,416 - 4,746 และ 6,561 - 7,473 คาลอรีต่อกรัม ได้ผลผลิตเฉลี่ยของถ่านที่ร้อยละ 28.9 - 31.8 จากการทดสอบสมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติเชิงกลของถ่านอัดก้อนที่ผสมแป้งมันสำปะหลัง ร้อยละ 7.5 สรุปได้ดังนี้ เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.19 - 3.22 เซนติเมตร ความยาว 4.99 - 6.05 เซนติเมตร น้ำหนักอบแห้งของถ่าน แต่ละก้อน 12.5 - 19.1 กรัม ความแน่น 0.306 - 0.465 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ความคงทนของก้อนถ่านที่หล่นสู่พื้นคอนกรีตสูง 1.0 เมตรได้ 1.7 - 6.8 ครั้ง ความคงทนของก้อนถ่านที่สามารถรับแรงกระแทกของตุ้มน้ำหนักขนาด 1.6 กิโลกรัม ที่ความสูงเฉลี่ย 2.9 - 7.3 เซนติเมตร ในการทดสอบการต้มน้ำของถ่านอัดก้อนพบว่าถานอัดก้อนที่ผลิตขึ้นไม่มีควัน สามารถต้มน้ำ 3.7 ลิตร ให้เดือดในเวลา 14.3 - 20.5 นาที และให้ประสิทธิภาพในการใช้งานเฉลี่ยร้อยละ 27.6 - 32.0

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ