REHABILITATIOM OF MANGROVE ECOSYSTEM IN THAILAND
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์และทำลายพื้นที่ป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยลดลงเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจโดยอาศัยภาพถ่ายจากดาวเทียมในช่วง 32 ปี (2504 - 2536) พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ป่าชายเลนได้ถูกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปอื่น มีความพยายามหลายประการที่ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน ได้แก่ การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนทั่วประเทศออกเป็น 3 เขต ประกอบด้วย เขตอนุรักษ์เพื่อการป้องกันรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม เขตเศรษฐกิจ ก เพื่อผลผลิตทางด้านป่าไม้อย่างต่อเนื่อง และเขตเศรษฐกิจ ข เพื่อการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากการทำลายพืชพรรณไม้ป่าชายเลนทำให้ระบบนิเวศขาดความสมดุล และส่งผลกระทบต่อผลผลิตของทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่ง รัฐจึงได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อดำเนินการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนที่เสื่อมสภาพ ซึ่งการปลูกสร้างสวนป่าชายเลนถือเป็นกิจกรรมหลักประการหนึ่งในปี 2535 รัฐได้จัดทำโครงการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนจำนวน 250,000 ไร่ อยู่ในเขตอนุรักษ์ 57,400 ไร่ และในเขตเศรษฐกิจ ก 192,600 ไร่ โดยคาดว่าจะดำเนินการให้เสร็จภายในปี 2539 ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการปลูกป่าชายเลนในแต่ละภาค มีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และกล้าไม้ การปลูกบำรุงและการจัดสร้างสวนป่าชายเลน อย่างไรก็ตาม ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลน การอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการฟื้นฟูป่าชายเลนยังคงเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องหาทางแก้ไขต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”