ผลกระทบของเวลา อุณหภูมิ และด่างต่อการต้มเยื่อซัลเฟต ของไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การหาความสัมพันธ์ระหว่างเวลา อุณหภูมิ และปริมาณด่างต่อการต้มเยื่อซัลเฟตของไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส (Eucalyptus carmaldulensis) ได้ดำเนินตามวิธีดังนี้ ไม้ยูคาลิปที่ใช้ทดลองมีอายุ 6 ปี 6 เดือน จากสวนป่าที่ปลูกระยะ 2 x 8 ม. ที่จังหวัดปราจีนบุรี นำไม้ดังกล่าว 10 ต้น มาปลอกเปลือก ทำเป็นชิ้นไม้สับขนาด 3 - 19 มม. แล้วต้มชิ้นไม้สับผึ่งแห้งครั้งละ 350 กรัม จำนวน 60 ครั้ง โดยใช้เวลาต้มเยื่อ 0 - 2 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 160 - 180 º C ปริมาณเอฟเฟคตีบแอลคาไล ที่ใช้ร้อยละ 14.0 - 17.5 สรุปผลการทดลองได้ดังนี้ ค่าแฟคเตอร์เฮส (H) เฉลี่ยเป็น 626 - 1128 ได้ผลผลิตเยื่อเฉลี่ยร้อยละ 45 - 51 ที่ตัวเลขคัปปาในเยื่อ 36 - 51 ซึ่งคิดเป็นปริมาณลิกนินร้อยละ 3.5 - 5.7 ผลผลิตเยื่อและตัวเลขคัปปาขึ้นอยู่กับแฟตเตอร์เฮส ที่กำลังสองของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.913 มีค่าเป็น
K = 289.4 - 28.70 (EA)0.0903 ln H
สมการถดถอยแบบเส้นตรงของความสัมพันธ์ระกว่างปริมาณลิกนิน (L) และตัวเลขคัปปา (K) ที่กำลังสองของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.992 มีค่าเป็น
L = -2.214 + 0.1563 K
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”