ผลของระยะปลูกและความหนักเบาของการลิดกิ่ง ต่อการเติบโต และผลผลิตของสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ
ปรีชา ธรรมานนท์
บัวเรศ ประไชโย
คณิต ม่วงนิล

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของระยะปลูก 3 ระยะ (2 x 2. 2 x 4 และ 2x 8 เมตร) และการลิดกิ่ง 2 ระดับ ๆ ละ 3 ครั้งคือลิดกิ่งในระดับสูง 3 - 5 - 9 และ 5 - 7 - 11 เมตรจากพื้นดิน และควบคุมเมื่อสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส มีอายุ 3, 4 และ 6 ปี ได้ดำเนินการที่สวนป่าสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยติดตามการเติบโตทางด้านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับสูง 1.30 เมตรเหนือพื้นดิน ความสูงของลำต้น และผลผลิตในรูปมวลชีวภาพ ตั้งแต่สวนป่านี้มีอายุ 2 ปี จนกระทั่งมีอายุ 8 ปี ในแปลงทดลองที่วางแผนแบบ Split-phot ในแปลงสุ่ม มาตราการละ 3 ซ้ำ พบว่า ลักษณะการเติบโตทางด้านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และความสูงของลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุของสวนป่ากับการใช้มาตราการทั้งสองอย่างดังกล่าวกับสวนป่านี้ สามารถจะอธิบายได้ดีมาก โดยใช้โมเดลการเติบโตแบบสมการความสัมพันธ์การเจริญเติบโตของ Gompertz ผลของระยะปลูกและความหนักเบาของการลิดกิ่งทำให้ขนาดทั้งสองอย่างนี้ เมื่อมีอายุ 8 ปี ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในระยะปลูก 2 x 8 เมตร จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย และความสูงเฉลี่ยสูงกว่าในระยะปลูกชิด (2 x 2 เมตร) แต่ไม่ต่างจากในระยะปลูกค่อนข้างซิด (2 x 4 เมตร) เว้นแต่ความสูงเฉลี่ยในระยะปลูกชิดจะต่ำที่สุด และการลิดกิ่งทั้งอย่างหนักและอย่างเบาจะทำให้ต้นไม้มีขนาดทั้งสองอย่างเฉลี่ยต่ำเท่า ๆ กัน แต่การลิดกิ่งอย่างเบาจะไม่ต่างจากในแปลงที่ไม่มีการลิดกิ่งหรือควบคุมแต่อย่างใด การศึกษานี้ได้รวมไปถึงการวิเคราะห์และวิจารณ์ผลของการแก่งแย่งที่เกิดจากการใช้ระยะปลูก แบ่งแยกไปตามความหนักเบาของการลิดกิ่งด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ