การขยายพันธุ์ไม้กฤษณาโดยการตัดชำ

Main Article Content

สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน

บทคัดย่อ

การทดลองปักชำไม้กฤษณา ดำเนินการในเดือนมกราคม มีนาคม มิถุนายน กันยายน และพฤศจิกายน 2536 การตัดกิ่งจากกล้าไม้กฤษณา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนปลายยอด และส่วนกิ่งอ่อน (ท่อนที่ถัดจากปลายยอดลงมา ผิวก้านมีสีเขียวถึงสีเขียวอมน้ำตาล) ตัดกิ่งปักชำออกเป็นท่อน ๆ แต่ละท่อนมี 2 ข้อ (ประกอบด้วยตา 2 ตา) นำกิ่งตัดข้าไปแช่ฮอร์โมนสังเคราะห์ IBA ที่ระดับความเข้มข้น 0, 50 และ 100 ppm นาน 24 ชั่วโมง จำนวนการทดลองละ 20 กิ่ง นำไปปักชำในตะกร้าบรรจุทรายหยาบ ที่รดน้ำจนชุ่ม หลังการปักชำนำตะกร้าทรายบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 20 x 24 นิ้ว ผูกปลายถุง ภายหลังการปักชำ 6 สัปดาห์ พบว่ากิ่งที่ตัดช้าในเดือนมิถุนายนที่ไม่ได้แช่ฮอร์โมนจะมีจำนวนกิ่งออกรากน้อยที่สุด (10 - 15 %) เมื่อเทียบกับกิ่งปักชำที่ไม่ได้แช่ฮอร์โมนที่ปักชำในเดือนอื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนกิ่งออกราก 35 - 75 % กิ่งปักชำที่แช่ฮอร์โมนสังเคราะห์ IBA จะมีจำนวนกิ่งออกรากใกล้เคียงกันในทุกช่วงระยะเวลาการทดลอง (40 - 60 %) ยกเว้นการทดลองปักชำในเดือนมกราคม ที่ส่วนกิ่งอ่อนจะมีจำนวนกิ่งออกราก 65 - 95 % จำนวนรากต่อกิ่ง (เฉพาะกิ่งปักชำที่ออกรากยาวกว่า 0.2 ซม.) จะเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของฮอร์โมนมากขึ้น การแช่ฮอร์โมนสังเคราะห์ IBA ไม่ค่อยมีผลต่อการเพิ่มจำนวนกิ่งออกราก แต่จะมีผลต่อคุณภาพของกิ่งปักชำที่ออกราก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ