ผลของระยะปลูกและการลิดกิ่งต่ออัตราการเติบโตและผลผลิต ของสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลยซีส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการใช้ระยะปลูก 3 ระยะ (2 x 2, 2 x 4 และ 2 x 8 เมตร) และการลิดกิ่ง 2 ระดับโดยให้สูงจากพื้นดิน 3 และ 5 เมตรและควบคุมโดยใช้การวางแผนการทดลองแบบ Split-plot ในแปลงสุมและมีจำนวนแปลง 3 ซ้ำ ในสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส ในบริเวณพื้นที่ของสวนป่าสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยทำการลิดกิ่งเมื่อสวนป่าไม้ที่มีอายุ 3 ปี และศึกษาผลกระทบเมื่อสวนป่านี้มีอายุ 4 ปี (1 ปีภายหลังการลิดกิ่ง) ในรูปของอัตราการเติบโตสัมพัทธ์ทางด้านเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับสูง 1.30 เมตร จากพื้นดินความสูงทั้งหมดของลำต้น การผลิตมวลชีวภาพเฉลี่ยของส่วนต่าง ๆ และส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินและด้านการผลิตมวลชีวภาพรวมของส่วนต่าง ๆ และส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน พบว่าผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของอัตราการเติบโตสัมพัทธ์ทุกด้าน อันเนื่องมาจากมาตราการทั้งสองมาตราการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ P> 0.100 และพบว่ามาตราการทั้งสองนี้มีการกระทำร่วมกันต่ออัตราการเติบโตสัมพัทธ์ด้านเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับสูง 1.30 เมตรเหนือพื้นดินเฉลี่ย ส่วนอัตราการเติบโตสัมพัทธ์ทางด้านอื่นนั้นไม่พบการกระทำร่วมกันของมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้โดยอัตราการเติบโตสัมพัทธ์ทางด้านเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับสูง 1.30 เมตรเหนือพื้นดินเฉลี่ยของสวนป่าที่ปลูกด้วยระยะปลูก 2 x 2 เมตรที่คิดถึงที่ลิดถึงสูงจากพื้นดิน 3 เมตรหรือควบคุมจะสูงสุดเท่า ๆ กัน แต่ในระยะปลูก 2 x 4 เมตรจะมีอัตรานี้สูงสุดในแปลงที่มีการลิดกิ่งสูง 3 เมตรรองลงมา คือ แปลงควบคุมและต่ำสุดในแปลงที่มีการลิดกิ่งสูง 5 เมตร ส่วนในระยะปลูก 2 x 8 เมตรจะมีอัตราสูงในแปลงควบคุมเท่า ๆ กับในแปลงที่มีการลิดกิ่งสูง 5 เมตรและแปลงที่ลิดกิ่งสูง 5 เมตรจะมีอัตราเท่า ๆ กับในแปลงที่ลิดกิ่งสูง 3 เมตร อัตราการเติบโตสัมพัทธ์ทางด้านความสูงเฉลี่ยนั้น ในระยะปลูก 2 x 8 เมตร จะมีอัตรานี้สูงสุดพอ ๆ กับในระยะปลูก 2 x 4 เมตร แต่ระยะปลูก 2 x 4 เมตร จะสูงพอ ๆ กับในระยะปลูก 2 x 2 เมตร ผลของระยะปลูกต่ออัตราการผลิตมวลชีวภาพสัมพัทธ์เฉลี่ยของส่วนที่เป็นลำต้น ใบ และส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินจะสูงในระยะปลูก 2 x 8 เมตร พอ ๆ กับในระยะปลูก 2 x 4 เมตร แต่ในระยะปลูก 2 x 4 เมตร จะไม่ต่างจากในระยะปลูก 2 x 2 เมตร ยกเว้นอัตรานี้ในใบซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ผลของการลิดกิ่งต่ออัตรานี้ในทุกส่วนของต้นไม้และส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน จะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและในแปลงควบคุมกับแปลงที่มีการลิดกิ่งสูง 3 เมตร จะมีอัตรานี้สูงกว่าในแปลงที่มีการลิดกิ่งสูง 5 เมตร ผลของการใช้ระยะปลูกและการลิดกิ่งต่อปริมาณผลผลิตมวลชีวภาพเฉลี่ยจะคล้อยตามทฤษฎีผลของความหนาแน่นและการแก่งแย่งที่แยกไปตามระดับของการลิดกิ่งและการควบคุม ส่วนผลของการใช้มาตราการทั้งสองอย่างต่ออัตราการผลิตมวลชีวภาพรวมสัมพัทธ์นั้นจะพบว่ามีแนวโน้มคล้ายคลึงกันกับอัตราการผลิตมวลชีวภาพเฉลี่ยสัมพัทธ์ แต่ผลของระยะปลูกต่ออัตรานี้จะแตกต่างกันเฉพาะในส่วนที่เป็นลำต้น ใบ และส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน แต่ส่วนที่เป็นกิ่งจะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ผลของการลิดกิ่งสูง 3 เมตรมีแนวโน้มที่จะทำให้อัตราที่สูงกว่าในแปลงที่ไม่มีการลิดกิ่งหรือคิดกิ่งสูง 5 เมตร และผลของการใช้มาตราการทั้งสองอย่างต่อปริมาณผลผลิตมวลชีวภาพรวมนั้นจะสอดคล้องตามทฤษฎีผลของความหนาแน่นที่มีต่อผลผลิตแยกไปตามระดับของการลิดกิ่ง และการควบคุมและการศึกษานี้พบว่าในสวนป่าที่ปลูกด้วยความหนาแน่นสูง (ปลูกชิด) นั้น การลิดกิ่งแต่เพียงเล็กน้อยมีแนวโน้มที่จะทำให้ได้รับผลผลิตมวลชีวภาพรวมสูงขึ้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”