การศึกษาด้านนิเวศวิทยาของพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วในป่าเต็งรัง I. องค์ประกอบของชนิด การขึ้นกระจายและความหลากหลาย

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ

บทคัดย่อ

การศึกษาถึงองค์ประกอบของชนิด การขึ้นกระจายและความหลากหลายของพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่ว ในป่าเต็งรังได้จากเอกสารการวิจัยเกี่ยวกับป่าเต็งรังที่มีอยู่แล้ว และในแปลงตัวอย่างซึ่งดำเนินการเฉพาะแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยทำการศึกษาเฉพาะชนิดของพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกตั้งแต่ 4.5 ซม. และ 10 ชม. ขึ้นไป พบว่าในป่าเต็งรัง 16 ประเภทมีชนิดของพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วตั้งแต่ 1 ชนิดจนถึง 11 ชนิดและจะมีจำนวนชนิดมากขึ้นตามจำนวนชนิดของพรรณไม้ทั้งหมดที่พบในป่าเต็งรังแต่ละประเภท มีเปอร์เซ็นต์ของจำนวนชนิดที่ขึ้นกระจายอยู่ตั้งแต่ 2 - 26 % และมีความหลากหลายของจำนวนต้นต่อพื้นที่ตั้งแต่ 0.001 - 26 % และพบว่าไม้แดงขึ้นอยู่ในป่าเต็งรัง 13 ประเภท ไม้ประดู่ และกระพี้เขาควายขึ้นอยู่ในป่าเต็งรัง 9 ประเภท และไม้มะค่าแต้ขึ้นอยู่ในป่าเต็งรัง 7 ประเภท ส่วนชนิดอื่น ๆ นั้นขึ้นอยู่ในป่าเต็งรังบางประเภทเท่านั้น มีพรรณไม้หายากอยู่ 6 ชนิดที่พบว่าขึ้นอยู่ชนิดเดียวเดี่ยว ๆ ในป่าเต็งรังบางประเภทสำหรับดัชนีความหลากชนิดและลักษณะทางนิเวศวิทยาอื่นๆ ของป่าเต็งรังนั้นพบว่าขึ้นอยู่กับจำนวนชนิดของพรรณไม้ทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบของป่าชนิดนี้ และพรรณไม้ยืนต้นตระกูลถั่วมีส่วนร่วมในค่าดัชนีนั้นๆ ตามจำนวนชนิดและความหลากหลายที่พบในป่าเต็งรังเหล่านี้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ