การเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) ที่ได้รับการปลุกเชื้อราแอคโตไมคอร์ไรซา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดสอบการเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนาในดินนึ่งฆ่าเชื้อที่ไม่ได้รับการปลูกเชื้อรา และได้รับการปลูกเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซา ด้วยการใช้ชิ้นส่วนของดอกเห็ด 3 ชนิด คือเห็ดตะไคล (Russula aeruginsa Lindbl.) เห็ตน้ำแป้ง (R. albida Peck) และเห็ดน้ำหมาก (R. Sanguinea Tr.) ในสภาพเรือนเพาะชำ ได้ใช้แผนการทดลองแบบ completely randornized design มีทั้งหมด 4 ทรีตเมนต์ แต่ละทรีตเมนต์มี 5 ซ้ำ ทำการวัดความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับคอรากของกล้าไม้ทุก ๆ เดือน เมื่อกล้าไม้มีอายุครบ 7 เดือนได้ถูกนำไปอบและชั่งหาน้ำหนักแห้งของส่วนยอด ส่วนราก น้ำหนักแห้งรวม และค่าร้อยละของน้ำหนักแห้งของรากเอคโคไมคอร์ไรซา การทดลองได้ผลว่ากล้าไม้ใน 4 ทรีตเมนต์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางด้านความสูง เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับคอราก น้ำหนักแห้งของส่วนยอด ส่วนราก และน้ำหนักแห้งรวม โดยกล้าไม้ที่ได้รับการปลูกเชื้อราด้วยชิ้นส่วนของดอกเห็ดตะไคลมีการเจริญเติบโตในทุกด้านที่กล่าวข้างต้นสูงที่สุด รองลงไปคือกล้าไม้ที่ปลูกเชื้อด้วยเห็ดน้ำหมาก เห็ดน้ำแป้ง และไม่ได้รับการปลูกเชื้อราใด ๆ เลยตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักแห้งของส่วนยอดต่อส่วนราก และค่าร้อยละของน้ำหนักแห้งของรากเอตโตไมคอร์ไรซา ในระหว่างทรีตเมนต์ และกล่าวได้ว่าเห็ดตะไคลและเห็ตน้ำหมากมีความเหมาะสมในการเป็นเอคโตไมคอร์ไรซากับกล้าไม้ยางนามากกว่าเห็ดน้ำแป้ง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”