ผลผลิตและการหมุนเวียนของธาตุอาหารของป่าเต็งรังในประเทศไทย II. ผลผลิตขั้นปฐมภูมิและการหายใจของสังคมพืช

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ

บทคัดย่อ

การศึกษาปริมาณผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ ผลผลิตขั้นปฐมภูมิรวม และปริมาณการหายใจของสังคมพืชในป่าเต็งรัง จำนวน 52 หมู่ไม้ และในสังคมย่อย 6 สังคม โดยการประมาณทางอ้อมจากสมการความสัมพันธ์ระหว่าง ผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิกับปริมาณมวลชีวภาพของใบ และระหว่างผลผลิตขั้นปฐมภูมิรวมกับผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิที่เสนอโคย Yoda (1971) และประมาณหาอัตราการหายใจของสังคมพืช จากผลต่างระหว่างผลผลิตขั้นปฐมภูมิรวมกับผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ แล้วแปลงคำปริมาณการหายใจของสังคมพืชไปเป็น CO2 ที่ปลดปล่อยสู่บรรยากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำกัดเฉพาะจากพรรณไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับสูง 1.30 เมตรเหนือพื้นดินตั้งแต่ 10 ซม. ขึ้นไป พบว่าอัตราการผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิเฉลี่ยจะมีอยู่ประมาณ 5.722 ± 1.162 ตัน/เฮกแตร์:ปี โดยมีอัตรานี้สูงสุดในบำเต็งรังที่เป็นสังคมของไม้เหียงเต็ง- สนสองใบ (6.711 ตัน/เฮกแตร์.ปี) และต่ำสุดในป่าเต็งรังที่มีไม้เต็งเป็นไม้เด่นขึ้นอยู่ในที่แห้งแล้ง (3.601 ตัน/เฮกแตร์.ปี) และพบว่าอัตราการผลิตขั้นปฐมภูมิรวม จะมีแนวโน้มอย่างเดียวกัน แต่จะสูงกว่าอัตราการผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิประมาณ 1.9 เท่าในทุกสังคมพืช สำหรับอัตราการหายใจโดยเฉลี่ยจะมีอยู่ประมาณ 5.480 + 1.424 ตัน/เฮกแตร์ปี โดยจะสูญเสียอินทรียวัตถุไปโดยการหายใจประมาณ 1/2 ของปริมาณผลผลิตขั้นปฐมภูมิรวม และประมาณเป็น CO2 ปลดปล่อยสู่บรรยากาศโดยเฉลี่ยได้ 8.925 + 2.320 ตัน/เฮกแตร์.ปี ซึ่งคิดเป็น 1.6 เท่าของอัตราการหายใจรายปี และของอัตราการผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ และเป็น 0.8 เท่าของอัตราการผลิตขั้นปฐมภูมิรวมรายปี

Downloads

Article Details

How to Cite
สหุนาฬุ พ. . (2022). ผลผลิตและการหมุนเวียนของธาตุอาหารของป่าเต็งรังในประเทศไทย II. ผลผลิตขั้นปฐมภูมิและการหายใจของสังคมพืช. วารสารวนศาสตร์ไทย, 13(2), 88–97. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/article/view/256245
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ