การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างดินกับพืชในป่าเต็งรัง โดยวิธี Discriminant Analysis

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ
ปรีชา ธรรมานนท์
ชุบ เข็มนาค

บทคัดย่อ

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดินกับพืชในป่าเต็งรังได้ดำเนินการในบริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช โดยการสุ่มวางแปลงตัวอย่างจำนวน 16 แปลงเป็นตัวแทนของ 16 หมู่ไม้ขนาดแปลงตัวอย่างตะ 2,500 ม2 สำรวจแจงนับไม้ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับสูง 1.30 เมตรเหนือพื้นดิน ตั้งแต่ 4.5 ชม.ขึ้นไปทุกต้น วัคขนาคเส้นผ่าศูนย์กลางบันทึกชนิด ขุดดินตัวอย่างแปลงละ 3 หลุม เก็บตัวอย่างดินทุกระดับความลึก ตั้งแต่ 0-5. 10-20, 20-30และ 30-50 ชม. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้านนิเวศวิทยาของพืชพรรณไม้อันได้แก่ ขนาด และพื้นที่หน้าตัดเฉลี่ยมวลชีวภาพเหนือพื้นดินทั้งหมด ความหลากชนิดในรูปแบบต่างๆ ความคล้ายคลึง ระหว่างหมู่ไม้และการจัดกลุ่มวิเคราะห์สมบัติดินในรูปปริมาณการสะสมของอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารหลักในชั้นดิน (ลึกถึง 50 ซม.) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติดินที่อยู่ในรูปปริมาณดังกล่าวกับการจัดกลุ่มของหมู่ไม้โคยวิธี Discriminant analysis การศึกษาสรุปได้ว่า พืชพรรณไม้ในป่าเต็งรังสะแกราชนี้มีอยู่ ทั้งสิ้น 46 ชนิด มีการขึ้นกระจายของชนิดแตกต่างกันไปแล้วแต่หมู่ไม้และมีความหลากชนิดต่ำใกล้เคียงกัน สามารถแบ่งกลุ่มตามลักษณะความคล้ายคลึงของหมู่ไม้โดยอาศัยจำนวนชนิดและจำนวนต้นออกเป็น 2-3 กลุ่ม ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการสะสมของอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารในดินกับการจัดกลุ่มของหมู่ไม้แล้วพบว่าปริมาณอินทรียวัตถุและแคลเซียมเป็นปัจจัยสำคัญคือ กลุ่มของหมู่ไม้ที่มีอินทรียวัตถุสะสมอยู่สูง แต่มีแคลเซียมสะสมอยู่ต่ำ จะมีความสูงเฉลี่ย พื้นที่หน้าตัดเฉลี่ย มวลชีวภาพเหนือพื้นดินเฉลี่ย และความหนาแน่นเฉลี่ยสูง แต่มีความหลากชนิดต่ำ ส่วนในกลุ่มของหมู่ไม้ที่มีอินทรียวัตถุสะสมอยู่น้อย แต่มีแคลเซียมสูงจะมีลักษณะในเซิงปริมาณต่าง ๆ ต่ำ แต่มีความหลากชนิดสูง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ