ลักษณะทางด้านนิเวศวิทยา ของระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ประพันธ์ สัมพันธ์พานิช
มณฑล จำเริญพฤกษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาระบบนิเวศวิทยา ในระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ได้กระทำในระหว่างเดือนธันวาคม 2535 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 สามารถแบ่งการศึกษาได้ 3 ส่วน คือ โครงสร้างและลักษณะเชิงปริมาณของสังคมพืช, ปริมาณการร่วงหล่นของซากพืช และอัตราการสลายตัวของซากพืช นอกจากยังได้เก็บตัวอย่างดินมาวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ผลการศึกษาพบว่า ในระบบสวนบ้านดังกล่าวมีขนาคพื้นที่ประมาณ 4.31 ไร่ (0.69 เฮกแตร์) มีความหนาแน่นของพรรณไม้ 6.877 ดัน/เฮกแตร์ จำนวน 58 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นไม้ผล ขนาคเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกของพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ อยู่ระหว่าง 10.51-15.50 เซนติเมตร ความสูงระหว่าง 7.00-13.50 เมตร มีชั้นเรือนยอดที่ต่อเนื่องแบ่งได้ 4 ชั้น ในแง่ความสำคัญทางด้านนิเวศวิทยาพบว่า ทุเรียน และทองหลาง มีความสำคัญเป็นอันดับแรก มีค่า I.V.I เท่ากับ 56 และ 53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ หมาก มะพร้าว ชมพู่ม่าเหมี่ยว และอื่น ๆ มีความสำคัญรองลงไป มีค่าดรรชนีความหลากหลาย (Shannon-Wiener index) เท่ากับ 4.0 ใกล้เคียงกับป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้งบางแห่ง การร่วงหล่นของซากพืชรวม 5.682 ตัน/เฮกแตร์/ปี คิดเป็นธาตุอาหารกลับคืนสู่ดินได้แก่ ธาตุแคลเซียมมากที่สุด 106.883 กิโลกรัม/เฮกแตร์/ปี รองลงไปได้แก่ ไนโตรเจน โปแตสเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส เท่ากับ 81.923 75.083. 26.324 และ 8.042 กิโลกรัม/เฮกแตร์/ปี อัตราการผุสลายของซากพืช คิดเป็น 2.036 ตัน/เฮกแตร์/ปี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ