ลักษณะโครงสร้างใบและการแลกเปลี่ยนกาซของประดู่ ที่ปลูกในเขตเมือง

Main Article Content

ลดาวัลย์ พวงจิตร
สาพิศ ร้อยอำแพง

บทคัดย่อ

การศึกมาลักพณะโครงสร้างใบ และการแลกเปลี่ยนกาซของไม้ประดู่ที่ปลูกในเขตเมืองได้ศึกษากับไม้ประดู่ที่ปลูกในเขตกรุงเทพมหานคร 6 แห่ง โดยแบ่งออกเป็นพื้นที่ที่มีมลพิมทางอากาศมาก ได้แก่ สีลม ลาคพร้าว บางเขน และพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศน้อย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สวนจตุจักร สวนลุมพินี จากการศึกมาพบว่าลักมณะโครงสร้างของใบประดู่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ แต่ใบประดู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศมากจะมีใบบางกว่า และความหนาของ palisade parenchyma น้อยกว่าใบประดู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศน้อย ปากใบของประดู่จะพบฉพาะที่บริเวณด้านหลังของใบ โดยมีลักษณะการกระจายของปากใบสม่ำเสมอทั่วทั้งผิวใบ ยกเว้นบริเวณเส้นใบ จำนวนเฉลี่ยของปากใบจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 153-173 ปากใบ/มม.2พื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาสมากจะมีจำนวนปากใบน้อยกว่าพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศน้อย แต่ความแตกต่างคังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับขนาคของปากใบไม่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.24 µm อัตราการสังเคราะห์แสงประจำวันของไม้ประดู่มีรูปแบบคล้ายคลึงกันในทุกพื้นที่ โดยอัตราการสังเคราะห์แสงจะเพิ่มขึ้นในช่วงเช้า และลดลงเล็กน้อยในช่วงบ่าย อัตราการสังเคราะห์แสงจะถึงจุดสูงสุดในช่วงเวลาประมาณ 8.00 - 9.00 น. ค่าเฉลี่ยประจำวันของอัตราการสังเคราะห์จะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โคยประดู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศมากจะมีอัตราการสังเคราะห์แสงต่ำกว่าประดู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศน้อย อัตราการสังเคราะห์แสงเฉลี่ยน้อยที่สุดของไม้ประดู่ พบที่ถนนสีลมเท่ากับ 2.64 µmol m-2s-1 และสูงที่สุดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เท่ากับ 6.21 µmol m-2s-1  อัตราการสังเคราะห์แสงของไม้ประดู่ไม่ได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อความเข้มของแสง และความเข้มของคาร์บอนไคออกไซด์เพิ่มขึ้น อัตราการสังเคราะห์แสงมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกับ stomatal conductance

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ