การสลายตัวของสารเคมีป้องกันปลวกในกลุ่ม organophosphate และ synthetic pyrethroid ที่ใช้ทาเนื้อไม้ I: วิธีการวิเคราะห์ทางเคมี
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการศึกษาการสลายตัวของสารเคมีป้องกันปลวกที่ทำาเนื้อไม้ในกลุ่ม synthetic pyrethroid จำนวน 4 ชนิด และในกลุ่ม organophosphate จำนวน 2 ชนิด ที่ระดับความเข้มข้น 0.5%. 1% และ 2% ด้วยวิธีการทาโคยให้มีตัวยา 110 ±10 กรัม/ตารางเมตร หลังจากการฝั่งดิน และ weathering ที่ระยะเวลา P1 (ฝังดินและ weathering 1 และเดือน ที่ณหภูมิห้อง). P2 (ฝังดินและ weathering 3 และ 9 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง). P3 (ฝังดินและ6 และ 6 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง) และ P4 (ฝังดิน 12 เดือน แถะสกัดสารเคมีทันที) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเครื่อง gas chromatography (G.C) เพื่อหาค่าปริมาณของสารเคมีที่คงเหลือในไม้เป็นเปอร์เซ็นต์ recovery พบว่าปัจจัยต่างๆ ทั้งชนิดของสารเคมีระดับความเข้มข้น รวมถึงระยะเวลาในการฝังดิน และ weathering ล้วนมีผลต่ออัตราการสลายตัวของสารเคมีทาไม้ที่แตกต่างกันไป โดยเปอร์เซ็นต์ recovery ของสารเคมีแต่ละชนิดจะเพิ่มมากขึ้นไปตามระดับความเข้มข้นที่เพิ่มสูงขึ้น และจะเริ่มลดน้อยลงไปตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น สารเคมีในกลุ่ม organophosphate, chlorpyrifos และ phoxim จะสลายตัวได้ง่ายที่สุดในสภาพฝังดิน และweathering ในเขตร้อนชื้น โคยจะมีการสลายตัวไปในระยะเวลาอันสั้น และรวดเร็วมากกว่าสารเดมีในกลุ่ม synthetic pyrethroid แม้จะใช้ในระดับความเข้มขั้นที่สูงถึง 2% ก็ตาม ส่วนสารเคมีในกลุ่ม synthetic pyrethroid พบว่า permethrin และ cypermethrin มีอัตราการสลายตัวใกล้เคียงกัน และจะสลายตัวได้มากกว่า fenvalerate และ Hoe-498 ตามลำดับ และจะสลายตัวไปได้รวดเร็ว โดยเฉพาะที่ระดับความเข้มข้นต่ำสุด หลังจากระยะเวลา 12 เดือน พบว่า สารเคมีในกลุ่ม synthetic pyrethroid ก็จะถูกสลายตัวไปมากขึ้น จนใกล้เคียงกับสารเคมีกลุ่ม organophosphate ยกเว้นเฉพาะ Hoe-498 เท่านั้น ที่จัดเป็นสารเคมีที่มีความคงทนต่อการสลายตัวมากที่สุดในสภาพฝังดิน และ weathering ในเขตร้อนชื้น ในทุกระดับความเข้มข้นเมื่อเปรียบเทียบกับสารเคมีชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในการทดลอง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”