อิทธิพลของใบไม้ร่วงจากต้นไม้ต่อความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส การดูดใช้ธาตุอาหารพืชและผลผลิตข้าวที่ปลูกบนดินชุดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การหมุนเวียนธาตุอาหารและอินทรียวัตถุจากไม้ยืนต้นผ่านใบไม้ร่วงหล่นสู่พืชเกษตร เป็นปัจจัย ที่สำคัญประการหนึ่งของต้นไม้ในระบบวนเกษตรที่ช่วยให้เกิดความยั่งยืนของการใช้ที่ดิน เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ใช้ระบบดังกล่าวอย่างจงใจเป็นเวลานานมาแล้ว แต่ความเข้าใจในทางด้านผลกระทบระยะสั้นของใบไม้ร่วงหล่นยังมีน้อยมาก และยังไม่พบการศึกษาโดยตรงในผลกระทบที่เกิดกับการปลูกพืช จึงได้ดำเนินงานทดลองในเรือนทดลองถึงผลกระทบของใบไม้จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ใบจามจุรี ใบมะม่วง ใบพลวง ใบกระบก และใบยูคาลิปตัส ต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารและการเจริญเติบโต ของข้าวพันธุ์ กข. 23 ที่ปลูกบนดินร้อยเอ็ด จากการทดลองพบว่าใบไม้ทุกชนิดเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดินได้แต่ไม่เป็นไปตามสัดส่วนของปริมาณธาตุอาหารในใบพืชที่ใส่ลงไปในดิน การใส่ใบพืชลงไปในดินดังกล่าวช่วยทำให้ข้าวเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงขึ้น แต่มีความแตกต่างด้านองค์ประกอบของผลผลิตทางชีวภาพ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความแตกต่างในเชิงชีวเคมีของใบไม้และการปรับปรุงสถานะของธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน จากการค้นพบดังกล่าวทำให้ได้ทราบถึงแนวทางการจัดการธาตุอาหารพืชในระบบวนเกษตรเพื่อลดผลกระทบของผลเสียที่อาจมีจากไม้ยืนต้นที่มีต่อพืชเกษตรผ่านความ ไม่สมดุลของธาตุอาหารพืช และยังทำให้ทราบว่าปริมาณธาตุอาหารในใบพืชร่วงหล่นมิได้เป็นตัวชี้บ่งถึง ความเป็นประโยชน์โดยตรงของใบไม้ที่ร่วงหล่นต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลิตภาพของพื้นที่ใน ระบบวนเกษตร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”