การปลูกไผ่ตงและไผ่น้อยโดยระบบวนเกษตร

Main Article Content

ธิติ วิสารัตน์
สมบูรณ์ บุญยืน
พิทยา เพชรมาก
บุญชุบ บุญทวี

บทคัดย่อ

การปลูกไผ่ตงและไม่น้อย (ไผ่เลี้ยง) โดยระบบวนเกษตรได้เริ่มดำเนินการเมื่อปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ท้องที่สถานีทดลองปลูกพรรณไม้ห้วยทากิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยงจังหวัดศรีสะเกษโดยวางผังการทดลองแบบ Combletely Randomized Block Design มีทั้งหมด 3 ซ้ำและให้ 1 Block มี 6 plots แต่ละ plots มีขนาดพื้นที่ 40 ม. x 40 ม. (1 ไร่) โดยปลูกไผ่ตงและไผ่น้อยเป็นพืชหลักใช้ระยะปลูก 6 ม. x 6 ม. และปลูกพืชเกษตร 2 ชนิด ได้แก่ ถั่วลิสงและข้าวโพดอยู่ระหว่างแนวของไผ่ทั้งสองชนิดจากการศึกษาพบว่าในช่วงปีแรกไผ่น้อยและไผ่ตงสามารถแตกหน่อหรือลำได้ดีในช่วงเดือนเมษายน 2535 ถึงเดือนกันยายน 2535 โดยไผ่น้อยสามารถแตกหน่อได้ดีกว่าไผ่ตงและไผ่ทั้งสองชนิดที่ปลูกควบคู่กับถั่วลิสงสามารถแตกหน่อหรือลำมากที่สุดเท่ากับ 534.1 และ 98 ต่อไร่หรือ 3338.1 และ 12.5 ต่อเฮกแตร์ตามลำดับส่วนในแปลงที่ไม่ปลูกควบพืชเกษตรจะให้ผลผลิตของหน่อหรือลำน้อยที่สุดสำหรับผลผลิตเฉลี่ยของถั่วลิสงและข้าวโพดที่ปลูกควบคู่กับไผ่น้อยและไผ่ตงในครั้งแรกมีผลผลิตค่อนข้างต่ำและในครั้งที่ 2 ที่ปลูกควบคู่กับไผ่ตงจะให้ผลผลิตมากกว่าที่ปลูกควบกับไผ่น้อยผลผลิตเฉลี่ยของข้าวโพดที่ปลูกครั้งที่ 2 มีปริมาณใกล้เคียงกันทั้งที่ปลูกควบคู่กับไผ่น้อยและไผ่ตงและแตกต่างกับผลผลิตที่ปลูกครั้งแรกไม่มากนักรายได้จากข้าวโพดทั้งในแปลงปลูกควบกับไผ่น้อยและไผ่ตงมีค่าสูงกว่ารายได้ที่ได้จากการปลูกถั่วลิสง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ