ผลผลิตของพืชและการเปลี่ยนแปลงของดินในระบบวนเกษตรกรณีการศึกษาบนดินภายหลังการทำเหมืองแร่ดีบุก

Main Article Content

ปรีชา ธรรมานนท์
พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ

บทคัดย่อ

การปลูกสร้างสวนป่าบนพื้นที่ภายหลังจากการทำเหมืองแร่ดีบุกได้กระทำที่อำเภอตะกั่วป่าจังหวัดพังงายูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิสเป็นไม้ที่เลือกปลูกในแปลงป่าไม้สับปะรดและมันสำปะหลังเป็นพืชที่ปลูกในแปลงเกษตรความเพิ่มพูนทางด้านมวลชีวภาพของลำต้นเฉลี่ยรายปีของไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิสมีเพียง 0.3 ตัน / เฮกแตร์ / ปีในแปลงที่มิได้มีมาตรการปรับปรุงดิน mulching ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 0.9 ตัน / เฮกแตร์ / ปีสำหรับ Soil dressing (clayey soil + ปุ๋ยเทศบาล + ปุ๋ยวิทยาศาสตร์) สามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้นถึง 3.7 ตัน / เฮกแตร์ / ปีการใช้อินทรียวัตถุเช่นปุ๋ยเทศบาลและ mulching สามารถปรับปรุงให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง mulching ดูเหมือนว่าจะเป็นตัวมาตรการต่าง ๆ ที่ใช้ในการที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้ดินเหมืองแร่มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มสูงขึ้นปรับปรุงดินมีผลทำให้ pHw, OM, T-N, AV.N, AVP, ExK และ Ex.B เพิ่มสูงขึ้นอย่างเด่นชัดในขณะที่ EC, Ex, Ca, Ex. Mg, Ex. Na มิได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดในช่วงระยะเวลา 5 ปีของการศึกษาการใช้ Mulching ร่วมกับปุ๋ยเป็นผลทำให้ผลผลิตของสับปะรดและมันสำปะหลังทั้งในอย่างเดียวและแปลงที่ปลูกโดยระบบวนเกษตรเพิ่มสูงขึ้นถึงระดับที่สามารถทำแปลงที่ปลูกพืชเกษตรในเชิงการค้าได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ