กําเนิดและการพัฒนาของดอกกระถินเทพา

Main Article Content

ประเสริฐ สอนสถาพรกุล
สุวรรณ ตั้งมิตรเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องกำเนิดและการพัฒนาของดอกกระถินเทพา (Acacia mangium) ได้พัฒนาดำเนินการและเก็บตัวอย่างจากแปลงทดลองของศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่าอาเซียน-แคนาดา ต.หมูสี อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา โดยวิธีการตรวจสอบลักษณะการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในของดอกเริ่มตั้งแต่ระยะตาดอกจนกระทั่งระยะที่ดอกเจริญสมบูรณ์เต็มที่พร้อมที่จะได้รับการผสมและเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นผักกระถินเทพาเริ่มให้ดอกครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี ออกดอกปีละครั้งในเดือนสิงหาคม ช่อดอกเกิดจากตาข้าง (lateral bud) ที่บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะแบบ spike มีสีขาวหรือครีมกลิ่นหอม ดอกย่อย (floret) เป็นดอกสมบูรณ์เพศประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ครบทุกส่วน ได้แก่ กลีบเลี้ยง (calyx) จำนวน 5 กลีบ กลีบดอก (corolla) จำนวน 5 กลีบ จํานวนเกสรตัวผู้ประมาณ 70-80 อัน และเกสรตัวเมียที่มีรังไข่ (ovary) เพียง 1 ช่อง (locale) เท่านั้น ประกอบด้วยไข่อ่อน (ovule) จำนวน 14 ใบ ลักษณะรูปร่างของ Ovule เป็นแบบ hemiana tropous และมีการจัดเรียงตัวแบบ marginal placentation ดอกกระถินเทพาใช้เวลาในการพัฒนาตั้งแต่ระยะตาดอกจนถึงระยะที่ดอกบานเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ประมาณ 50-52 วัน ดอกกระถินเทพาส่วนใหญ่จะบานเต็มที่พร้อม ๆ กันในช่วงเวลาเช้ามืดเวลาประมาณ 5:00 น. 6:00 น. และพร้อมที่จะมีการถ่ายละอองเรณู (pollination) หลังจากดอกบานแล้วประมาณ 1-2 ซม. การปฏิสนธิ (fertiliza tion) จะเกิดขึ้นหลังช่วง pollination แล้วประมาณ 1-2 วัน Zygote จะฝังตัวอยู่ทางด้าน micropyle และมีการพักตัวไปพร้อม ๆ กับ endosperm ประมาณ 70-75 วันในช่วงฤดูหนาว ส่วนของ inner และ outer integuments จะยืดขยายตัวหุ้ม ส่วนของ embryo sac อย่างรวดเร็ว เกสรตัวผู้และกลีบดอกของดอกที่ได้รับการผสมเกสรแล้วจะเหี่ยวร่วงลงไปตามลำดับในขณะที่ส่วนของรังไข่ (overy) จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเจริญยืดยาวกลายเป็นฝัก (pod) ต่อไป กระถินเทพาจัดเป็นพันธุ์ไม้เบิกนำ (pioneer species) ที่สามารถปรับตัวเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ซึ่งสภาพแวดล้อมถูกทำลายไป หรือในพื้นที่ไม่ค่อยมีความอุดมสมบูรณ์นักมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วเช่นเดียวกับไม้โตเร็วในสกุลอื่น ๆ มีลักษณะลำต้นเปลาตรงกิ่งก้านน้อย เนื้อไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางนับตั้งแต่ทำไม้แปรรูปเนื่องจากมีคุณสมบัติขัดให้เรียบได้ง่าย เป็นมันลื่น ซึ่งเหมาะสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ และใช้เป็นไม้พื้นได้เป็นอย่างดีเนื้อไม้มีความหนาแน่น และค่าความร้อนสูงถึง 4,800 4,900 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม นอกจากนั้นกระถินเทพายังสามารถผลิตปมรากจากเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียม (Rhizobium) ได้เช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่วชนิดอื่น ๆ การปลูกกระถินเทพจึงช่วยปรับปรุงดินไปในตัวด้วย ปัจจุบันกระถินเทพามีการปลูกอย่างจริงจัง และทำการทดสอบถิ่นกำเนิดตลอดจนการทดสอบสายพันธุ์เพื่อกษาถึงความเป็นไปได้ในการปลูกสร้างสวนป่าภายในประเทศ การที่จะปลูกสร้างสวนป่าให้ประสบความสำเร็จ จําเป็นจะต้องมีการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ควบคู่กันไปด้วย ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงอุปนิสัยของการออกดอก การพัฒนาเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางและข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์ไม้กระถินเทพาให้มีลักษณะที่ดีตามความต้องการต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ