การอาบน้ำยาไม้ยางพาราตามกรรมวิธีจุ่มแล้วหมักด้วยสารประกอบโบรอนเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของมอด
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการศึกษาทดลองอาบน้ำยาไม้ยางพารา (Hevea brasiliensis Muell, Arg.) ตามกรรมวิธีจุ่มแล้วหมักด้วยสารประกอบโบรอน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของมอด (Heteroxstrychus equals Waterhouse) โดยจุ่มไม้ยางพาราสด (ปริมาณความชื้นเฉลี่ย 64.80% และไม้ยางพาราแห้ง (ปริมาณความชื้นเฉลี่ย 26.99% ) ขนาด 4.5 x 1 x 22 นิ้ว ลงในน้ำยาโบรอน 15% ผสมกับโซเดียมเพ็นตาคลอโรฟิเนต 2% และน้ำยาโบรอน 30% ผสมกับโซเดียมเป็นตาคลอโรฟิเนต 2% เป็นเวลา 2 นาที แล้วนำมากองหมักคลุมด้วยผ้าพลาสติกเป็นเวลา 3 วัน 6 วัน และ 9 วัน ผลการทดลองพบว่าไม้ยางพาราสดจุ่มน้ำยาโบรอน 30% ผสมกับโซเดียมเพ็นตาคลอโรฟิเนต 2% หมักนาน 5 วัน มีอัตราการแทรกซึมของสารโบรอนเข้าไปในเนื้อไม้มากที่สุดเฉลี่ย 95.95% และมีปริมาณกรดโบริกเข้าไปในส่วนหน้าตัดไม้ และส่วนใจกลางไม้มากที่สุดเช่นเดียวกันเฉลี่ย 0.64% และ 0.33% ตามลำดับ และเมื่อทําการทดลองป้องกันมอด ก็พบว่าถูกมอดเข้าทำลายน้อยที่สุด นอกจากนี้จากผลการทดลองยังพบว่าไม้ยางพาราสดจุ่มน้ำยาโบรอน 30% ผสมกับโซเดียมเพ็นตาคลอโรฟิเนต 2% หมักนาน 3 วัน 6 วัน และ 9 วัน จะมีปริมาณกรดโบริกเข้าไปในส่วนกลางไม้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 0.20% ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการอาบน้ำยาตามกรรมวิธีจุ่มแล้วหมักของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์สําหรับการทดลองประสิทธิภาพของสารโบรอนในการป้องกันมอด พบว่าตัวยาโบรอนความเข้มข้น 15% และ 30% สามารถป้องกันการเจาะทําลายของมอด H. acqualis ได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”