ผลกระทบของการจัดพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง ต่อเศรษฐสังคมของประชากร

Main Article Content

ณรงค์ ศรีสวัสดิ์
ประคอง อินทรจันทร์
อภิชาต ภัทรธรรม

บทคัดย่อ

พื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่จันและอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พื้นที่โครงการ 149,625 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ภูเขาสูง พื้นที่ป่าถูกทำลายจากชาวเขา 5 เผ่า คือ อีก้อ รายใหญ่ จีนฮ่อ มูเซอ และ ลั๊วะ ทำไร่เลื่อนลอย เกือบเป็นเขาหัวโล้น มีพรรณไม้ป่าดิบเขาเหลืออยู่บ้าง บริเวณพระธาตุดอยตุง ส่วนป่าเบญจพรรณมีเหลืออยู่น้อยเช่นเดียวกัน การศึกษาโครงการพัฒนาดอยตุงเพื่อศึกษาข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การใช้ประโยชน์ที่ดินตลอดจนผลกระทบการพัฒนาด้านต่าง ๆ จากการศึกษาพบว่าประชากรมี 30 หมู่บ้าน มีประชากร 10,886 คน มีอาชีพหลักคือ การเกษตร และอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพรอง มีการถือครองที่ดิน แต่ไม่มีเอกสารสิทธิทั่วพื้นที่ดอยตุงมีพื้นที่สวนป่าในพื้นที่โครงการ โดยปลูกสนสามใบ และนางพญาเสือโคร่งเป็นหลัก ชาวเขาแต่ละเผ่ามีประเพณีที่แตกต่างกันไปโดยเฉพาะอีก้อ มีความแตกต่างจากเผ่าอื่นมาก ผลจากการพัฒนาดอยตุง ชาวไทยภูเขามีรายได้จากการรับจ้างเพิ่มมากขึ้น มีงานทำเพิ่มขึ้น ประชากรอพยพเข้ามาในพื้นที่โครงการ มากขึ้น ประชากรมีการศึกษาที่ดีขึ้น มีสถานีอนามัย ตลอดจนสะดวกในการเดินทางไปมาระหว่าง หมู่บ้าน ตำบล และเมืองมากขึ้น อีกทั้งสะดวกในการนำผลิตผลเกษตรกรรมออกไปขาย เนื่องจากเส้นทาง การคมนาคมขนส่งสะดวก ในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้มีการขยายพื้นที่ปลูกป่ามากขึ้นทั้งด้านของ รัฐและประชาชนที่มีส่วนร่วมช่วยกันปลูกโดยเห็นคุณค่าของป่าไม้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้พื้นที่ดอยตุงเป็น พื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมขึ้น พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น ในอนาคตอันใกล้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ