การสำรวจโรคของกล้าไม้ต่างถิ่น ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเกี่ยวกับโรคในครั้งนี้กระทำ ณ เรือนเพาะชำกล้าไม้ของโครงการหลวงอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจดูว่ามีโรคชนิดต่าง ๆ ที่เกิดกับกล้าไม้อยู่ 1-2 ปี ที่นำเข้ามาจาก ต่างประเทศ 3 ชนิดด้วยกันคือ Acacia confusa, Liquidamber formosana และ Fraxinus griffithi อย่างไรบ้าง ผลของการสำรวจแสดงให้เห็นว่ากล้าไม้เป็นโรคใบจุด และใบไหม้ทั้ง 3 ชนิด โดยระดับของ ความรุนแรงของโรคมีดังนี้ : 92.1% และ 90.7% ของกล้าไม้ Liquidambar formosana อายุ 2 ปี 94.0% และ 67.7% ของกล้าไม้ L.formosana อายุ 1 ปี 95.0% และ 98.8% ของกล้าไม้ Acacia confusa อายุ 1 ปี และ 68.2% และ 44.8% ของกล้าไม้ Fraximus griffithii อายุ 1 ปี เป็นโรคใบจุดและใบไหม้ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่า กล้าไม้ Acacia confusa ง่ายต่อการเป็นโรคมากที่สุดในขณะที่กล้าไม้ Fraxcinus griffithii มีความต้านทานต่อโรคมากที่สุด แต่สำหรับกล้าไม้ L.formosana ที่อายุ 1 และ 2 ปีนั้น พบว่ากล้าไม้ที่มีอายุ 2 ปีง่ายต่อการเป็นโรคใบไหม้มากกว่ากล้าไม้ที่มีอายุ 1 ปี ทั้งนี้อาจเนื่องจากกล้าไม้ ที่มีอายุ 2 ปี เกิดการขาดธาตุอาหารที่มีอยู่ในถุงเพาะชำเมื่อเปรียบเทียบกล้าไม้ที่มีอายุ 1 ปี ทำให้เกิดการ อ่อนแอง่ายต่อการเป็นโรคเกิดขึ้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”